การอภิปรายและการเสวนา



รายงาน

เรื่อง การอภิปรายและการเสวนา

จัดทำโดย

************

นำเสนอ

***********************

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาธรรมนิเทศ

รหัสวิชา (๐๐๐ ๒๖๒) ๒ นก. ภาคเรียนที่ ********** ปีการศึกษา ๒๕**************

ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่ ************** สาขาการจัดการเชิงพุทธ

*****************

คำนำ

การร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง รวมไปถึงการพูดให้ความรู้ข้อมูลใหม่ด้วยการอภิปรายที่ได้ยินกันบ่อยปัจจุบัน เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล การอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจ การอภิปรายเรื่องวิกฤติวัฒนธรรมในยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นต้น ปกติจะมีผู้มาร่วมอภิปรายตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรืออาจเป็นกลุ่มคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน อาจเป็นการอภิปรายในที่ประชุม สำนักงาน กลางแจ้ง หรือในสภา ก็ได้ โดยมักเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้แสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเต็มที่ แต่ในระยะเวลาจำกัด ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ ซึ่งในรายงานเล่มนี้ก็ได้คัดสรรสาระเนื้อหาในเรื่องดังกล่าวไว้อย่างครบถ้วน และถูกต้อง ท่านที่สนใจในเนื้อหาเหลานี้จึงมั่นใจได้ว่าจะได้ความรู้ความเข้าใจที่ดีอย่างแน่นอน

หากท่านต้องการเนื้อที่มีความละเอียดมากกว่านี้ ผู้จัดทำ แนะนำให้ท่านเปิดไปที่หน้าบรรณานุกรม เพื่อดูแหล่งที่มาของข้อมูลในรายงานเล่มนี้ และสุดท้ายผู้จัดทำขอให้ผู้ที่ได้อ่านรายงานที่เต็มไปด้วยเกร็ดความรู้มากมายในเล่มนี้ ให้มีความสุขสวัสดิ์ตลอดไป เทอญ



***********************

สารบัญ

เรื่อง หน้า

คำนำ ก

สารบัญ ข

การอภิปรายและการเสวนา ๑

ความหมายและความสำคัญของการอภิปราย ๑

องค์ประกอบของการอภิปราย ๒

หน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับการอภิปราย ๒

รูปแบบของการอภิปราย ๔

วัตถุประสงค์ของการอภิปราย ๗

การเตรียมตัวสำหรับการอภิปราย ๙

ผู้ดำเนินการอภิปราย ๑๓

พิธีกร ๑๕

ความหมายของการเสวนา ๑๖

การเสวนาในกรณีลดความขัดแย้ง ๑๘

บทสรุป ๒๐

เอกสารอ้างอิง ๒๔






การอภิปรายและการเสวนา

การที่บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปพูดแสดงความรู้ความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกันหรืออาจเพื่อเสนอแนะ แนวทางการแก้ไขปัญหาและการดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การอภิปรายจึงมีความสำคัญ คือช่วยให้เกิดความรู้ ความคิดกว้างขวางขึ้นและสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ได้ดี


ความหมายและความสำคัญของการอภิปราย

การอภิปราย หมายถึง การร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง รวมไปถึงการพูดให้ความรู้ข้อมูลใหม่ด้วยการอภิปรายที่ได้ยินกันบ่อยปัจจุบัน เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล การอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจ การอภิปรายเรื่องวิกฤติวัฒนธรรมในยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นต้น ปกติจะมีผู้มาร่วมอภิปรายตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรืออาจเป็นกลุ่มคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน อาจเป็นการอภิปรายในที่ประชุม สำนักงาน กลางแจ้ง หรือในสภา ก็ได้ โดยมักเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้แสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเต็มที่ แต่ในระยะเวลาจำกัด ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้



องค์ประกอบของการอภิปราย

การอภิปรายประกอบด้วย

๑ ผู้พูด

๒ ผู้ฟัง

๓ หัวข้อเรื่อง

๔ สถานที่



หน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับการอภิปราย

๑ ผู้พูด ประกอบด้วย ผู้ดำเนินการอภิปรายจำนวน ๑ คน และผู้อภิปรายมีจำนวนตั้งแต่ ๑ คนขึ้นไป แต่ละฝ่ายทำหน้าที่ ดังนี้

ผู้ดำเนินการอภิปราย ควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

๑) กล่าวอารัมภบทถึงจุดมุ่งหมายในการอภิปราย

๒) แนะนำผู้ร่วมอภิปรายเป็นรายบุคคล โดยบอกชื่อ หน้าที่การงาน ความสนใจ และความเกี่ยวข้องกับหัวข้อการอภิปราย

๓) กล่าวนำประเด็นที่จะอภิปราย และเชิญผู้อภิปรายทีละคนให้แสดงความคิดเห็นในแง่ที่ตนถนัด

๔) สรุปหรือเสริมข้อความตามสมควร เมือผู้อภิปรายแต่ละคนกล่าวจบ

๕) เปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ซักถามผู้อภิปรายในตอนท้าย

๖) กล่าวสรุปทั้งหมดก่อนปิดการอภิปราย

ผู้ร่วมการอภิปราย ควรปฏิบัติตามหลักการดังต่อไปนี้

๑) รักษาเวลาในการพูด

๒) พูดให้ตรงประเด็น จัดลำดับความคิดให้ดี

๓) แสดงความคิดเห็นโดยบริสุทธิ์ ไม่ก้าวร้าวหรือเอาใจผู้หนึ่งผู้ใด

๔) ใช้คำพูดสุภาพ ยกย่องความคิดเห็นของผู้ร่วมอภิปราย

๕) ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ถ้าจะซักถามหรือแทรกข้อคิดเห็น ต้องขอผ่านทางผู้ดำเนินการอภิปราย และข้อคิดนั้นต้องตรงประเด็น

๒ ผู้ฟัง ควรปฏิบัติตามมารยาทการฟัง ดังนี้

๑) ปรบมือต้อนรับเมื่อมีการแนะนำผู้พูด

๒) รักษามารยาทในการฟัง เช่น ตั้งใจฟัง ไม่ส่งเสียงดัง ไม่รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มในขณะที่ฟัง ไม้โห่ฮา เมื่อผู้พูดพูดถูกใจ ควรปรบมือให้แทน เป็นต้น

๓ หัวข้อเรื่อง หัวข้อเรื่องที่ควรจะนำมาอภิปรายควรมีลักษณะดังนี้

๑) ไม่ควรเป็นปัญหาที่กว้างจนเกินไป จนสรุปผลไม่ได้

๒) ควรเป็นปัญหาที่มีสาระ ที่เสนอแนะให้นำไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

๓) ควรเป็นปัญหาที่คนอื่นก็อาจประสบเช่นเดียวกัน

๔) ควรเป็นปัญหาที่พบกันเสมอ ๆ เช่น การป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน

๕) เป็นเรื่องที่สังคมส่วนใหญ่เข้าใจยากหรือยังเข้าใจไม่ถูกต้อง

๔ สถานที่ ในการจัดหาสถานที่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมสำหรับการพูดในครั้งนั้น ๆ



รูปแบบของการอภิปราย

๑ การอภิปรายกลุ่ม คือ การอภิปรายที่ประกอบด้วยบุคคล ประมาณ ๕ – ๒๐ คน ทุกคนผลัดกันพูดและฟัง การอภิปรายมักเป็นเรื่อง เพื่อหาทางแก้ปัญหา กำหนดนโยบายวางแผนหรือหาข้อตกลงร่วมกัน มีบุคคล ๑ คน ทำหน้าที่ประธาน และอีก ๑ คน ทำหน้าที่เลขานุการ สถานที่อภิปรายอาจจัดเป็นรูปวงกลม สี่เหลี่ยม หรือรูปตัวยู (U) โดยมีจุดมุ่งหมายให้สมาชิดในกลุ่มมองเห็นกันได้

๒ การอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้ (Symposium)

การอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้ คือ การอภิปรายที่ประกอบด้วยบุคคล ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือ คณะผู้อภิปราย อีกฝ่ายหนึ่งคือ ผู้ฟัง คณะผู้อภิปรายจะมีประมาณ ๒ - ๕ คน ในคณะผู้อภิปรายประกอบด้วยผู้ดำเนินการอภิปรายและผู้อภิปราย ลักษณะการอภิปรายมุ่งให้ความรู้และความคิดอย่างละเอียดแก่ผู้ฟัง ผู้อภิปรายแต่ละคนได้รับมอบให้อภิปรายส่วนใดส่วนหนึ่งของปัญหาเดียวกันเป็นตอน ๆ ติดต่อกันจนจบเรื่อง ในตอนท้ายผู้ฟังมีส่วนร่วมการอภิปรายหรือซักถามปัญหาด้วย

๓ การอภิปรายแบบแพนเนล (Panel)

การอภิปรายแบบแพนเนล คล้ายกับการอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้ ต่างกันที่การอภิปรายแบบแพนเนล ผู้อภิปรายแต่ละคนแสดงความรู้ความคิดเห็นในหัวข้อหรือประเด็นเดียวกันไม่แยกเป็นส่วน ๆ หรือเป็นประเด็น ๆ แบบการอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้ ผู้อภิปราย แบบแพนเนลสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวางไม่จำกัดเฉพาะประเด็นใดประเด็นหนึ่งเท่านั้น บางโอกาสสามารถซักถามข้อข้องใจสงสัยจากผู้อภิปรายด้วยกันได้ นอกจากนี้ บรรยากาศการอภิปรายแบบแพนเนลยังเป็นกันเองมากกว่าการอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้ผู้ดำเนิน การอภิปรายจะเสนอปัญหาเดียวกันให้ผู้อภิปรายทุกคนแสดงความคิดเห็นจนกว่าจะหาข้อสรุปได้ วิธีการอื่น ๆ ตลอดจนการจัดสถานที่เหมือนการอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้ทุกประการ

๔ การอภิปรายแบบโต๊ะกลม

การอภิปรายแบบโต๊ะกลมคล้ายกับการอภิปรายกลุ่ม ต่างกันที่การจัดสถานที่ซึ่ง การอภิปรายแบบนี้จะจัดเป็นรูปวงกลมเท่านั้น และเป็นการประชุมผู้ใกล้ชิดที่เป็นผู้บริหารงานภายในหน่วยงานเดียวกันในลักษณะการปรึกษาหารือกันในการดำเนินงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้เป็นประธานหรือผู้ดำเนินการอภิปรายจะเป็นผู้รวบรวมปัญหาและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ไว้ก่อนเปิดการอภิปราย เพื่อขอความคิดเห็นและสรุปเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป

๕ การอภิปรายแบบฟอรัม (Forum)

การอภิปรายแบบฟอรัม เป็นการอภิปรายที่ประกอบด้วยคณะบุคคลที่มีความรู้ทางด้านวิชาการสาขาใดสาขาหนึ่ง ประมาณ ๕ - ๖ คน มีบุคคลอื่นอีก ๑ คน เป็นตัวแทนของผู้ฟังทำหน้าที่ประธานหรือผู้ดำเนินการอภิปราย ประสานงานการอภิปราย โดยชักนำหรือซักถามคณะผู้อภิปรายแทนผู้ฟัง ผู้ฟังมีโอกาสร่วมแสดงความรู้ความคิดเห็น หรือให้คำแนะนำต่าง ๆ แก่คณะผู้อภิปรายได้การอภิปรายแบบนี้มักไม่ค่อยพบในที่ทั่วไปนัก ผู้เรียนจะได้เห็นรูปแบบการอภิปรายเช่นนี้จากรายการทางโทรทัศน์หรือได้ฟังจากรายการวิทยุบ้าง

๖ การอภิปรายแบบสัมมนา (Seminar)

การอภิปรายแบบสัมมนา คือการอภิปรายหลังจากผู้เชี่ยวชาญสาขานั้น ๆ ให้ความรู้ผ่านไปแล้ว ผู้อภิปรายแต่ละคนแยกกันค้นคว้าหาความรู้ หรือประชุมปรึกษาหารือกันเป็นกลุ่มย่อย บางครั้งอาจมีวิทยากร เป็นที่ปรึกษาประจำกลุ่ม สรุปผล การค้นคว้าหรือปรึกษาหารือกันใน กลุ่มใหญ่ไปโดยปริยาย เมื่อผ่านที่ประชุมทั้งหมดแล้วผลนั้นใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานต่อไป

๗ การอภิปรายแบบสนทนา (Dialogue)

การอภิปรายแบบสนทนา มีลักษณะคล้ายกับการอภิปรายแบบฟอรัมแต่ผู้อภิปรายมี ๒ คน คนหนึ่งเป็นผู้ซักถามอีกคนหนึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ตอบปัญหา มักเป็นการอภิปรายในรูปของการแถลงข่าวสารหรือผลงานต่อคนจำนวนมาก พบมากทางวิทยุและโทรทัศน์

๘ การอภิปรายในที่ประชุม

การอภิปรายในที่ประชุม คือการอภิปรายเมื่อมีการประชุมครั้งหนึ่ง ๆ ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเมื่อดำเนินงานผ่านไปแล้วหรือดำเนินงานต่อไป มีการประชุมประเมินผลหรือหาลู่ทางข้อตกลงเป็นแนวปฏิบัติต่อไป ประธานในที่ประชุมซึ่งมักได้แก่หัวหน้าหน่วยงานนั้น ๆ เปิดโอกาสให้อภิปรายแสดงความคิดเห็น การอภิปรายแบบนี้คล้ายกับการอภิปรายกลุ่ม แต่จำนวนผู้ฟังอาจมากกว่า ๒๐ คน



๙ การอภิปรายแบบโต้วาที (Debate)

การอภิปรายแบบโต้วาที เป็นการอภิปรายโต้เถียงกันอย่างเป็นระเบียบตามหัวข้อที่กำหนดไว้ มีผู้เสนอฝ่ายหนึ่งผู้ค้านฝ่ายหนึ่ง และมีประธานเป็นผู้รักษาระเบียบการโต้ ทั้งฝ่ายเสนอและฝ่ายค้านต่างก็ยกเหตุผลหลักฐานอ้างอิงต่าง ๆ มาหักล้างกัน ฝ่ายใดมีเหตุผลดีย่อมเป็นฝ่ายชนะ ฝ่ายชนะจะยึดถือเป็นข้อปฏิบัติต่อไป

การอภิปรายแบบนี้ส่วนใหญ่ใช้ในการประชุมสภา และในที่ประชุมในกรณีที่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือนโยบายใดนโยบายหนึ่งไปปฏิบัติ

วัตถุประสงค์ของการอภิปราย



การอภิปรายแสดงความคิดเห็นที่จัดขึ้นมักมีจุดมุ่งหมายแน่นอน นั่นคือ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ เพื่อมาแสดงความคิดเห็น ให้ความรู้ เสนอแนะ โต้แย้ง หรือสนับสนุน ด้วยข้อมูลเหตุผล หลักการ ตัวอย่าง เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ฟังคล้อยตาม หรือเพื่อให้ผู้ฟังคิด ชั่งน้ำหนัก ไตร่ตรอง ฉุกคิด หรือตอกย้ำความเชื่อในแง่มุมเดิม หรือเพื่อให้เกิดความคิดใหม่ ก็ได้

ปกติแล้วหากมีข้อถกเถียง ปัญหา และความไม่เข้าใจกันของสาธารณชน หน่วยงาน หรือองค์กรเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็มักจะจัดการอภิปรายขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทัศนคติ และให้ข้อมูลความรู้ เพื่อที่ผู้ฟังจะได้นำความรู้ ความคิดเห็นที่ได้เหล่านี้ไปไตร่ตรองเพื่อตัดสินใจดำเนินการต่อไป

วัตถุประสงค์ของการอภิปรายอาจมีได้ดังนี้

๑. เพื่อหาข้อเท็จจริง

๒. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็น

๓. เพื่อวัดและตรวจสอบทิศทางหรือความรู้สึกของสมาชิกของสังคมหรือกลุ่มต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นประเด็นสนใจ

๔. เพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความสนใจและเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหา

๕. เพื่อนำข้อมูลความรู้และความคิดเห็นไปประกอบการตัดสินใจ

๖. เพื่อแก้ปัญหาและหาทางออกร่วมกันของกลุ่ม

ลักษณะและประเภทของการอภิปราย

การอภิปรายมีลักษณะทั่วไป ๓ ลักษณะดังนี้คือ การอภิปรายในที่ประชุม การอภิปรายทั่วไป การอภิปรายแบบมีวิทยากรหรือจำกัดผู้ร่วมอภิปราย

๑. การอภิปรายในที่ประชุม หมายถึงการเปิดโอกาสให้สมาชิกของที่ประชุมที่มีลักษณะปิด ได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจหรือการแก้ไขปัญหา หรือมติของที่ประชุม โดยมีประธานในที่ประชุมทำหน้าที่ควบคุมการอภิปราย หลังจากการอภิปรายอาจมีการให้ลงมติ หรือสรุปผลการอภิปราย โดยที่ประชุมอาจแบ่งออกได้เป็น สามฝ่าย คือฝ่ายเห็นด้วย ฝ่ายไม่เห็นด้วย และฝ่ายยังไม่ตัดสินใจ การอภิปรายของทุกฝ่ายเป็นไปเพื่อให้เหตุผล ข้อมูล และความคิดเห็นเพื่อโน้มน้าวให้อีก ๒ ฝ่ายมาเห็นด้วยเพื่อให้ที่ประชุมมีความเห็นคล้อยตามหรือลงมติตามที่ฝ่ายตนต้องการ เช่น การอภิปรายในที่ประชุมรัฐสภาเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น เรื่องงบประมาณ เรื่องกระทู้เกี่ยวกับอาชญากรรมและยาเสพติด ฯลฯ หรือการอภิปรายในที่ประชุมขององค์กร หน่วยงาน เป็นต้น

การอภิปรายในที่ประชุมมีลักษณะพิเศษคือเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น ให้ข้อมูลความรู้ได้โดยเท่าเทียมกัน โดยถือว่าสมาชิกแต่ละคนมีความรู้ มีสิทธิ์ และมีโอกาสอภิปรายได้ เนื่องจากผู้เข้าประชุมมีความรู้ความเข้าใจงานและประเด็นที่กำลังถกเถียงอภิปรายกันอยู่ค่อนข้างดี ปกติมักให้มีการแจ้งวาระการประชุมเพื่อให้สมาชิกเตรียมตัวล่วงหน้าได้

๒. การอภิปรายทั่วไป เป็นลักษณะของการอภิปรายที่เปิดโอกาสให้ทุกคนที่เป็นสมาชิกของที่ประชุมหรือผู้เข้าร่วมประชุมที่สนใจปัญหาเดียวกันแสดงความคิดเห็นได้ การอภิปรายทั่วไปทำได้สองลักษณะ คือ ลักษณะแรกทำในหมู่สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมเท่านั้น แต่เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นได้ ดังเช่นการอภิปรายในที่ประชุมดังกล่าวข้างต้น หรือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ฟังที่เป็นสาธารณชนเข้าร่วมประชุมและแสดงความคิดเห็นได้ด้วย ปกติก่อนจะมีการอภิปรายทั่วไปมักเริ่มต้นให้มีวิทยากร หรือผู้ร่วมอภิปรายที่กำหนดบุคคลไว้แล้วพูดอภิปรายเสนอความคิดจนครบทุกคนแล้วก่อน จากนั้นก็เปิดโอกาสให้ผู้ฟังร่วมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้

๓. การอภิปรายแบบมีวิทยากร/ผู้ร่วมอภิปราย ลักษณะนี้เป็นที่นิยมในปัจจุบันมาก การอภิปรายแบบนี้มักมีวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายประมาณ ๒-๔ จนถึง มาร่วมแสดงความคิดเห็น อาจเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเดียวกัน หรือเป็นการเสนอแนวทาง ทางออกของปัญหา หรือความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่กำลังเป็นประเด็นสนใจของกลุ่มหรือสาธารณชน การอภิปรายลักษณะนี้ ผู้อภิปรายมักได้รับเชิญในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เป็นบุคคลที่สังคมยอมรับ เป็นบุคคลที่มีความคิดเห็นน่าสนใจ เป็นผู้มีชื่อเสียง และเป็นผู้ที่สังคมกำลังให้ความสนใจ เป็นต้น มีคำเรียก ๒ คำสำหรับผู้อภิปราย คือ วิทยากร และผู้ร่วมอภิปราย ทั้งสองคำมีความหมายเดียวกันในแง่ที่ว่ามีบทบาทหน้าที่ให้ความคิด ความรู้ และข้อเสนอแนะต่าง ๆ แก่ผู้ฟัง



การเตรียมตัวสำหรับการอภิปราย

ไม่ว่าจะเป็นการอภิปรายลักษณะใดก็ตาม ผู้อภิปรายที่ดีมักจะเตรียมตัวเพื่อที่จะพูดอภิปรายล่วงหน้าเสมอเพื่อให้การพูดแต่ละครั้งน่าสนใจ โน้มน้าวใจ เป็นเหตุเป็นผล สมเหตุสมผล และเป็นจริง และต้องพูดให้ครบถ้วนในระยะเวลาที่จำกัด ปกติหากเป็นการอภิปรายในที่ประชุมหรือการอภิปรายทั่วไป ผู้อภิปรายมักมีเวลาเพียงน้อยนิดตั้งแต่ ๒-๓ นาทีไปจนถึงประมาณ ๑๐ นาที ก็เรียกว่าใช้เวลามากแล้ว เพราะมีคนอีกจำนวนมากที่รอจะอภิปรายแสดงความคิดเห็นเช่นเดียวกัน ในขณะที่การอภิปรายที่มีวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายนั้น วิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายมีจำนวนจำกัดจึงมีเวลาอภิปรายมากกว่า

กระนั้นก็ตาม การเตรียมตัวที่ดีถือเป็นหัวใจสำคัญของการอภิปรายเลยทีเดียว การเตรียมตัวที่ดีมี ๒ แบบตามประเภทหรือลักษณะของการอภิปรายดังนี้

การเตรียมตัวอภิปรายในที่ประชุมและการอภิปรายทั่วไป การประชุมเช่นนี้มักมีการแสดงความคิดเห็นกันต่อเนื่อง หากเป็นสมาชิกของที่ประชุมหรือเป็นผู้สนใจในประเด็นปัญหาโดยเฉพาะ จำเป็นต้องเตรียมตัว คือ

ศึกษาหาข้อมูลและความคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวให้กว้างขวางรอบด้าน รู้จักต้นตอหรือสาเหตุ ปัจจัยที่ให้เกิดปัญหา ข้อเสนอที่ได้มีการปฏิบัติไปแล้ว หรือข้อเสนอ ข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ได้มีการพูดหรืออภิปรายมาก่อนหน้านี้ ผลของการปฏิบัติหรือการยอมรับ หรือความเป็นไปได้ของข้อเสนอเหล่านั้น ข้อมูลรอบด้านที่เป็นธรรมชาติของประเด็นปัญหา เหตุการณ์รอบด้าน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ

เมื่อเข้าใจสภาพปัญหาและข้อคิดเห็นที่มีอยู่ก่อนแล้ว พยายามคิดหาเหตุผลด้วยกรอบคิดหรือมุมมองที่แตกต่างในการเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาหรือให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อว่าความคิดของเราจะได้ไม่ซ้ำซ้อนหรือเป็นความคิดดาดๆ ทั่วไปที่คนรู้แล้ว ผู้อภิปรายไม่เพียงแต่ตอกย้ำข้อมูล ความคิด ความเชื่อเดิมเท่านั้น หากต้องเสนอแนวคิดใหม่ที่น่าสนใจ เป็นไปได้ และคิดว่าน่าจะเป็นข้อมูลใหม่หรือทางออกใหม่ที่ดีให้กับที่ประชุมด้วย

กลั่นกรองความคิด เหตุผล และข้อมูลเพื่อให้เกิดความแน่ใจและมั่นใจอย่างเต็มที่ จากนั้นนำความคิด เหตุผล และข้อมูล มาเรียงลำดับเพื่อความเป็นเหตุเป็นผล จากนั้นก็หาตัวอย่างประกอบเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย สั้นและชัดเจน ทั้งนี้เนื่องจากมีเวลาพูดอภิปรายจำกัด

หากมีเวลาเตรียมตัวน้อยและเป็นการอภิปรายแสดงความคิดเห็นของที่ประชุมอย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องใจจดใจจ่อต่อการอภิปรายของสมาชิกแต่ละคน บันทึกประเด็น เหตุผล และตัวอย่างที่ยกประกอบเพื่อทำความเข้าใจได้เร็ว หากต้องการเพิ่มเติม สนับสนุน หรือโต้แย้ง ควรเขียนสิ่งที่ต้องการอภิปรายเป็นหัวข้อหรือประเด็นไว้ พร้อมเหตุผล และตัวอย่างอย่างย่อๆ โดยเขียนให้เป็นลำดับ วางเหตุและผลให้เหมาะสมพร้อมตัวอย่างที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนความคิดของตน

หัวใจสำคัญของการอภิปรายแบบนี้คือ ฟังให้มากเพื่อให้ได้รับข้อมูลและความคิดเห็น เพื่อที่จะคิดหาทางออกใหม่สำหรับที่ประชุม และสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ผู้ฟังหรือผู้เข้าร่วมประชุมคาดหวัง

การเตรียมตัวเป็นวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปราย การเป็นวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายแสดงถึงการได้รับการยอมรับให้เป็นผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาหรือเรื่องราวที่มีจะการอภิปราย เหตุนี้เองทำให้วิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายมีเวลาสำหรับการอภิปรายมากกว่าการอภิปรายแบบอื่น และการอภิปรายเช่นนี้มักเน้นให้วิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายพูดเป็นหลัก โดยอาจมีการซักถาม เปิดอภิปรายทั่วไปตอนหลังเพื่อให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมได้บ้างในเวลาที่จำกัดเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ การเตรียมตัวของวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายจึงมีลักษณะคล้ายกับการเตรียมตัวพูดโดยทั่วไป นั่นคือ

เตรียมตัวศึกษาหาความรู้ ความคิดเห็นและข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะอภิปรายอย่างรอบด้าน และตรงประเด็น

เน้นเรื่องความคิดใหม่ ข้อเสนอแนะใหม่ ทางออกใหม่ และข้อมูลใหม่ พร้อมเหตุผล ตัวอย่างประกอบที่ชัดเจน ทั้งหมดนี้ต้องตรงประเด็นเช่นเดียวกัน

วิเคราะห์ผู้ฟัง โอกาส สถานที่ เวลา วัตถุประสงค์ของการอภิปราย ฯลฯ

จัดลำดับความคิด เหตุผล และเลือกตัวอย่างที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย

ร่างบทพูดด้วยการเลือกคำ สำนวน ประโยค หาคำคม คติ แง่คิด และบทกวีที่สำคัญและเข้ากับเรื่องที่จะอภิปราย โดยให้เหมาะสมกับเวลาที่กำหนด

ฝึกซ้อมให้จำได้ขึ้นใจ และสามารถพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ เร้าใจ น่าสนใจ

ทำเค้าโครงของบทพูดโดยกำหนดเป็นโครงเรื่องที่เขียนเฉพาะประเด็นสำคัญ เหตุผล และตัวอย่าง ทั้งหมดเขียนแบบย่อ ๆ เพื่อเป็นแนวในการพูด เขียนตัวโต ๆ เพื่อให้ดูและอ่านง่าย หากเป็นคำคม บทกวี ก็เขียนไว้ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะขณะพูดอาจลืมได้ เค้าโครงหรือโครงเรื่องนี้อาจจะใช้กระดาษธรรมดา หรืออาจใช้แผ่นกระดาษแข็งก็ได้ เพื่อให้ดูและอ่านได้อย่างสะดวก

สิ่งหนึ่งที่การเตรียมตัวอภิปรายแตกต่างจากการเตรียมตัวพูดทั่วไปคือ การวิเคราะห์วิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายด้วยกัน เนื่องด้วยการอภิปรายเช่นนี้มีวิทยากรตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป หากได้รับการมอบหมายหัวข้อหรือประเด็นที่แตกต่างกัน ก็นับเป็นเรื่องดีที่สามารถเตรียมตัวได้ตามประเด็นนั้น หลายครั้งที่การอภิปรายไม่ได้มีการมอบหมายหัวข้อพิเศษให้แก่วิทยากรแต่ละคน ทำให้วิทยากรจำเป็นต้องเตรียมมากขึ้น ด้วยการอ่านใจหรือวิเคราะห์วิทยากรที่เป็นผู้ร่วมอภิปรายว่าเขามีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านใด มักมีแนวคิดหรือมุมมองอย่างไร และคาดว่าเขาจะเสนออย่างไร เพื่อว่าการเตรียมตัวจะได้ไม่เกิดความซ้ำซ้อนกันขึ้น หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ผู้ที่อภิปรายก่อนจะพูดไปหมดแล้ว ทำให้ผู้ร่วมอภิปรายคนต่อมาไม่มีเรื่องที่พูดอภิปรายเพราะเตรียมเรื่องมาซ้ำกัน ดังนั้น ทางที่ดีควรเตรียมตัวให้มากและขณะเดียวกันก็ต้องอ่านและวิเคราะห์ผู้ร่วมอภิปรายของเราด้วย

ปกติแล้วเพื่อให้การอภิปรายดำเนินไปอย่างราบรื่นและได้รับความรู้ ความคิดเห็นและประโยชน์สูงสุด ผู้จัดการอภิปรายจะกำหนดหัวข้อย่อยให้ผู้อภิปรายแต่ละคนล่วงหน้า บ่อยครั้งที่ไม่ได้ทำเช่นนี้ ผู้จัดก็อาจจัดให้ผู้อภิปรายได้พบปะกัน โดยมีผู้ดำเนินการอภิปรายเป็นผู้ประสานงานจัดประเด็น ลำดับการพูดอภิปราย และเวลาให้กับวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายแต่ละท่านก่อนการอภิปรายไม่นานนัก ยกเว้นมีการติดต่อล่วงหน้าเป็นเวลานาน

เมื่อเป็นเช่นนี้ วิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายจึงต้องเตรียมตัวให้กว้างขวาง ลึกซึ้ง และมีข้อมูลและความคิดเห็นเพื่อจะได้ไม่เกิดความซ้ำซ้อนหรืออับจนข้อมูล ข้อคิดเห็นได้ขณะขึ้นอยู่บนเวทีแล้ว การจะทำได้แน่นอนว่าจะต้องวิเคราะห์ผู้ร่วมอภิปรายได้อย่างถูกต้องเท่านั้น

ผู้ดำเนินการอภิปราย



ผู้ดำเนินการอภิปรายมีบทบาทสำคัญมากในการอภิปราย เป็นผู้ทำให้การอภิปรายเริ่มต้นและดำเนินไปอย่างราบรื่นและน่าสนใจ ปกติแล้วผู้ดำเนินการอภิปรายมีหน้าที่และบทบาทต่อไปนี้

๑. เป็นผู้กำหนดรูปแบบการอภิปราย ประเด็นหัวข้อย่อยให้เป็นลำดับที่เหมาะสม มีความน่าสนใจ ให้แก่วิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายแต่ละท่าน กำหนดเวลาอภิปรายของแต่ละคน และช่วงเวลาสำหรับการซักถาม ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการ ผู้ควบคุมเวที ผู้กำหนดเวลาและจับเวลา ตลอดจนกำหนดกติกาที่เหมาะสมเพื่อให้การอภิปรายดำเนินได้รับประโยชน์สูงสุด

๒. เป็นพิธีกร สำหรับการอภิปรายที่ไม่เป็นทางการมากนัก ผู้ดำเนินการอภิปรายจะทำหน้าที่เป็นพิธีกร แนะนำประเด็นที่จะอภิปราย ความสำคัญ ความน่าสนใจ โอกาส และความคาดหวังของผู้จัดอภิปราย เป็นต้น

๓. แนะนำวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปราย โดยกล่าวถึงประวัติที่สำคัญ ความน่าสนใจหรือลักษณะพิเศษไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การงาน ตำแหน่ง ผลงาน ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับการอภิปราย โดยคำนึงถึงความเหมาะสมด้านเวลา และความสนใจของผู้ฟัง

๔. นำและเชื่อมโยงประเด็นการอภิปรายของวิทยากรแต่ละท่าน หากผู้ร่วมอภิปรายพูดยาวและไม่ชัดเจนนัก ผู้ดำเนินการอภิปรายอาจสรุปเป็นประเด็นเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจชัดเจนขึ้น หากเนื้อหาชัดเจนอยู่แล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องสรุปเพราะทำให้เสียเวลา แต่เชื่อมโยงประเด็นและเชิญผู้ร่วมอภิปรายพูดคนต่อไป

๕. จัดสรรและควบคุมเวลาของผู้ร่วมอภิปรายและผู้สนใจซักถามในการอภิปรายทั่วไป เพื่อไม่ให้มีการผูกขาดการพูดหรือการพูดที่ออกนอกเรื่อง ไม่ตรงประเด็น หรือเยิ่นเย้อ

๖. กล่าวขอบคุณวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปราย ผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ และผู้ฟัง

ผู้ดำเนินการอภิปรายที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

๑. มีลักษณะผู้นำ กล้าตัดสินใจ กล้าที่ดำเนินการอภิปรายให้เป็นไปตามเวลาที่กำหนด

๒. เตรียมตัวดีสำหรับการอภิปราย กล่าวคือ มีความรู้ค่อนข้างดีเกี่ยวกับเรื่องที่จะอภิปราย มีข้อมูล เข้าใจ สามารถตั้งคำถามหรือข้อสังเกตที่ดีได้ และเตรียมตัวมาอย่างดี ทั้งในส่วนของเนื้อหา บทที่จะเริ่มต้น บทแนะนำผู้ร่วมอภิปราย และบทสรุปการจบอภิปราย ว่าจะพูดอย่างไรให้เหมาะสม

๓. มีวาทศิลป์ในการตัด ขัด และแทรก หากมีการพูดเกินเวลา พูดนอกเรื่อง เยิ่นเย้อ เป็นต้น

๔. ใจจดใจจ่อและมีสมาธิฟังการอภิปรายเพื่อที่จะสรุปได้อย่างตรงประเด็น สั้น กระชับ ถูกต้อง และสามารถเชื่อมต่อประเด็นได้อย่างราบรื่น ผู้ดำเนินการอภิปรายอาจจำเป็นต้องเขียนบันทึกอยู่ตลอดเวลาขณะฟังวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายเพื่อไม่ให้ลืมประเด็น

๕. เตรียมนาฬิกาเพื่อจับเวลา กระดาษสำหรับเตือนผู้ร่วมอภิปรายเกี่ยวกับเวลาที่เหลือหรือการให้รีบสรุป

๖. ดำเนินการอภิปรายอย่างเป็นกันเอง เป็นธรรมชาติ และจริงใจ

๗. แต่งกายสุภาพ

พิธีกร



พิธีกรเป็นบุคคลสำคัญของงานเสมอ เป็นผู้ที่จะทำให้งานการอภิปรายดำเนินไปได้อย่างราบรื่นทั้งก่อนการอภิปรายและภายหลังการอภิปราย ปกติแล้วคนทั่วไปไม่รู้จักพิธีกร หากทำงานได้ดี ราบรื่น ก็จะดูเหมือนว่าพิธีกรทำงานได้ตามปกติตามความคาดหวังของที่ประชุม อย่างไรก็ตาม หากมีเรื่องติดขัดขึ้น สิ่งที่ผู้ฟังสนใจและพุ่งเป้าความสนใจไปก็คือ พิธีกร นั่นเอง

สำหรับการอภิปราย พิธีกรมีบทบาทและหน้าที่อยู่เพียง ๒ ช่วง คือช่วงแรกก่อนมีการอภิปราย และช่วงหลังเมื่อจบการอภิปราย แม้ดูเหมือนไม่ใช่กลไกหลักของงาน แต่ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การอภิปรายน่าสนใจและจบลงได้อย่างประทับใจ หากพิธีกรได้เตรียมตัว เขียนบท พูดอย่างเป็นธรรมชาติ มีแง่คิด คติ และคำคม ที่ให้ภาพรวมและความประทับใจเกี่ยวกับการอภิปราย ตลอดจนย้ำความคิดข้อเสนอที่ดีของวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายให้ผู้ฟังได้ฝังใจ ประทับใจ และนำติดไปคิดไตร่ตรองและมีความประทับใจที่ดีกับการอภิปรายและวิทยากร

โดยทั่วไป พิธีกรสำหรับการอภิปรายมีบทบาทและหน้าที่ดังต่อไปนี้

๑. แนะนำหัวข้อการอภิปราย โอกาส และวัตถุประสงค์ของการอภิปราย เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนใจมากขึ้น และอาจกล่าวถึงผู้ร่วมอภิปรายและผู้ดำเนินการอภิปรายในแง่มุมที่เกี่ยวกับหัวข้อเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ

๒. แนะนำผู้ดำเนินการอภิปราย

๓. เมื่อการอภิปรายสิ้นสุดลง กล่าวขอบคุณผู้ดำเนินการอภิปราย และวิทยากรอีกครั้ง และขอบคุณผู้ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ และผู้ฟัง

พิธีกรที่ดีต้องเข้าใจและมองเห็นภาพรวมของการดำเนินงานการอภิปรายทั้งหมด ต้องเป็นผู้วางแผนเกี่ยวกับกำหนดเวลาของการเริ่มและการเลิกงาน รู้รายละเอียดเกี่ยวกับช่วงเวลาว่าช่วงใดมีการดำเนินการอย่างไร และมีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ดำเนินการอภิปรายและผู้ร่วมอภิปราย ตลอดจนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ วัตถุประสงค์ของการจัดการอภิปราย สามารถพูดดึงความสนใจจากผู้ฟังได้

นอกจากนี้พิธีกรยังต้องรู้ว่าควรต้องกล่าวถึงและขอบคุณใครบ้างที่ทำให้งานเกิดขึ้นได้และประสบความสำเร็จ.



ความหมายของการเสวนา

การสานเสวนา (dialogue) เป็นรูปแบบหนึ่งของการสนทนา ที่มุ่งให้เกิดความเข้าใจ ทั้งมุมมองของตนและของผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น โดยรากศัพท์แล้ว dia แปลว่าผ่าน logos แปลว่าคำหรือความหมาย เมื่อรวมกันได้เป็นคำว่า dialogue ซึ่งหมายถึงกระบวนการทำให้เกิดความหมาย ที่ไหลลื่นผ่านไปในหมู่ผู้สนทนา เมื่อแปลเป็นไทยว่าสานเสวนา จึงอยากให้หมายถึงการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ (เสวนา) ที่มุ่งสานความหมายและความเข้าใจ โดยยอมรับความแตกต่างของจุดยืน ความคิด และอัตลักษณ์ของผู้สนทนา

เพื่อให้การสานเสวนาเป็นการสนทนาที่สานความเข้าใจ ผู้พูดจะต้องพูดอย่างมีสติ พูดอย่างเปิดใจ พูดถึงความคิดความเชื่อของเราโดยไม่อนุมานความคิดความเชื่อของผู้อื่นเพื่อมาวิเคราะห์ ตีความ หรือตัดสิน ส่วนจะเรียงลำดับความอย่างไรก็ได้ แต่กระนั้นก็มีวิธีเรียงลำดับความแบบหนึ่งที่น่าจะนำมาใช้คือ เริ่มพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากการสังเกตเห็นของเรา โดยไม่ตัดสินหรือตีความหมายสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น แล้วจึงแสดงความรู้สึกของเราที่มีต่อสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น โดยไม่ต่อว่าหรือแสดงออกเชิงตำหนิหรือกล่าวโทษใคร ขั้นตอนต่อไปคือการบอกความต้องการ (need) หรือเป้าหมายของเรา สุดท้ายจึงกล่าวคำขอ (ไม่ใช่คำสั่ง) ที่ขอให้ผู้อื่นกระทำเพื่อสนองความต้องการของเรานั้น การพูดจะต้องไม่เป็นการโจมตีผู้อื่น ไม่กล่าวโทษว่าผู้อื่นมีเจตนาร้าย หรือมีจุดหมายซ่อนเร้น หรือมีอุปนิสัยที่ไม่ดีต่าง ๆ นานา

การสานเสวนาเน้นที่การฟังมากกว่าการพูด ในการสานเสวนาผู้ฟังจะต้องฟังอย่างลึกซึ้ง ฟังด้วยใจเปิดกว้างเมตตา ฟังโดยไม่ด่วนตัดสินหรือตัดสินไว้ก่อน ฟังแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา

เมื่อรับฟังเรื่องใดมา ขอให้ระงับใจไตร่ตรอง อย่าโพล่งตอบหรือสวนออกไปด้วยความโกรธหรืออารมณ์อื่นใด หากตั้งสติอยู่กับปัจจุบัน ใส่ใจกับคำพูดที่ได้รับฟังมา เมื่อไตร่ตรองแล้ว ควรเริ่มพูดโดยกล่าวถึงความเข้าใจของเราต่อสิ่งที่ได้ฟังมา เพื่อแสดงว่าเราตั้งใจฟังจริง อย่างไรก็ดี การแสดงความเข้าใจเช่นนี้ มีโอกาสที่จะถูกมองว่าเป็นการสรุปความที่คลาดเคลื่อน ดังนั้น จึงควรกล่าวถึงบางประเด็นที่คิดว่าสำคัญเท่านั้น อีกทั้งกล่าวโดยใช้ประโยคให้ตรงกับที่ได้ฟังมาโดยไม่เรียบเรียงใหม่ จากนั้นจึงพูดถึงความคิดความเชื่อของเรา โดยอาจเรียงลำดับความดังที่กล่าวไว้ในย่อหน้าก่อน

ถ้าการสานเสวนาอยู่ในรูปแบบการถามตอบ ก็ขอให้เป็นคำถามที่จริงใจ ถามด้วยความสนใจอยากรู้ มิใช่ถามแบบหลอกล่อเพื่อจับผิด หรือถามนำเชิงกล่าวโทษ ส่วนคำตอบก็ไม่ควรเป็นการใช้ตรรกะซ้ำเดิม หรือสำนวนโวหารซ้ำซาก หรือการแสดงเหตุผลสนับสนุนความเห็นของตนให้หนักแน่นหรือรุนแรงยิ่งขึ้น หากควรเป็นคำตอบที่ตรงไปตรงมารวมทั้งเปิดเผยถึงความคิด ความรู้สึกที่ไม่ได้กล่าวถึงมาก่อนด้วย

การสานเสวนาหมายรวมถึงการนำสิ่งที่รับฟังมาไตร่ตรอง หมายถึงการฟังเสียงสะท้อนในตัวเรา และการเชื่อมโยงความเป็นมนุษย์ในตัวเรากับผู้อื่น เมื่อการสานเสวนามาถึงระดับการเชื่อมโยงเช่นนี้ ก็จะเกิดการไหลลื่นของความหมายที่ผ่านไปในหมู่ผู้สนทนาตรงตามรากศัพท์ของคำว่า dialogue นั่นเอง

เมื่อนำวิธีการสานเสวนามาใช้ในกรณีการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง (conflict transformation) จะต้องทำความเข้าใจให้ชัดว่า การสานเสวนาไม่ใช่การโต้แย้ง (debate) ไม่ใช่การแสวงหาความเห็นพ้องต้องกัน ไม่ใช่การไกล่เกลี่ย ไม่ใช่การเจรจาต่อรอง ไม่ได้มุ่งที่จะโน้มน้าวหรือเปลี่ยนแปลงความคิดของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ไม่ได้มุ่งที่จะแก้ไขความขัดแย้งในระยะสั้น หากมุ่งที่จะให้เกิดความเคารพต่อความเห็นที่แตกต่าง มุ่งที่จะลดอคติ และมุ่งให้เกิดการเปิดรับความคิดใหม่ ๆ

การสานเสวนาอาจนำไปสู่การเปลี่ยนความคิดของผู้ร่วมการสานเสวนา แต่ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงในตนเองหลังจากการไตร่ตรอง ไม่ใช่การเห็นคล้อยอย่างฉาบฉวยหรือหลงตามสำนวนคารม ส่วนความสัมพันธ์ของคู่ขัดแย้งที่หวังว่าจะดีขึ้นหลังการสานเสวนานั้น แม้จะเป็นจุดมุ่งหมายหลักของการสานเสวนาเพื่อแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งก็จริง ก็ควรเป็นไปโดยธรรมชาติ หลังจากเกิดความรู้สึกที่ดีขึ้น เพราะได้มาพูดจากันอย่างเพื่อนมนุษย์ ได้สัมผัสความเป็นมนุษย์ที่มีร่วมกัน และแต่ละคนรู้สึกว่าตนได้รับการยอมรับมากขึ้นนั่นเอง



การเสวนาในกรณีลดความขัดแย้ง

การสานเสวนาที่นำมาใช้ในกรณีการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งอาจมีแนวปฏิบัติดังนี้

๑ ) มีการเตรียมตัวก่อนการประชุมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจกระบวนการสานเสวนาและยอมรับกติการ่วมกัน

๒ ) ผู้เข้าร่วมการสานเสวนาไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำที่โดดเด่นของแต่ละฝ่ายเสมอไป หากเป็นผู้พร้อมเข้าร่วมและแสดงออกถึงความคิด ความเชื่อ และประสบการณ์ของตนในฐานะปัจเจกบุคคล

๓ ) ผู้เข้าร่วมช่วยกันสร้างบรรยากาศการสานเสวนาที่ผ่อนคลาย ไม่วิตกว่าสิ่งที่พูดจะถูกนำไปใช้ให้ฝ่ายตนต้องเสียเปรียบ ไม่วิตกว่าสิ่งที่พูดจะตรงหรือต่างจากคนอื่นในฝ่ายของตน และอาจเปิดเผยทั้งเรื่องที่ตนเชื่อมั่นและที่ตนสงสัยไม่แน่ใจ

๔ ) ทุกคนยอมรับว่าความสำเร็จของการสานเสวนาไม่ใช่การแสวงหาหรือการบรรลุข้อตกลง หากอยู่ที่การรับฟังและการเข้าถึงความเชื่อและความห่วงใยของแต่ละฝ่าย การเรียนรู้ถึงความซับซ้อนของประเด็นความขัดแย้งรวมทั้งมิติเชิงความต้องการและคุณค่าพื้นฐาน และการมีโอกาสได้พิจารณาโจทย์หรือนิยามความขัดแย้งในมุมมองต่าง ๆ กัน

๕ ) มีความมุ่งหวังว่าในระยะยาวแล้ว การสานเสวนาในกลุ่มย่อยดังกล่าวข้างต้น จะช่วยสร้างความไว้วางใจ และจะขยายวงเป็นการสานเสวนาในวงใหญ่ เป็นการสานเสวนาสาธารณะ ซึ่งอาจจะช่วยแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง ทั้งในเชิงความสัมพันธ์และในเชิงโครงสร้างได้

บทสรุป

การอภิปราย หมายถึง การร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง รวมไปถึงการพูดให้ความรู้ข้อมูลใหม่ด้วย การอภิปรายที่ได้ยินกันบ่อยปัจจุบัน เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล การอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจ การอภิปรายเรื่องวิกฤติวัฒนธรรมในยุคโลกาภิวัตน์ เป็นต้น ปกติจะมีผู้มาร่วมอภิปรายตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรืออาจเป็นกลุ่มคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน อาจเป็นการอภิปรายในที่ประชุม สำนักงาน กลางแจ้ง หรือในสภา ก็ได้ โดยมักเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้แสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเต็มที่ แต่ในระยะเวลาจำกัด ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้

การอภิปรายประกอบด้วย

๑ ผู้พูด

๒ ผู้ฟัง

๓ หัวข้อเรื่อง

๔ สถานที่

หน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับการอภิปราย

๑ ผู้พูด

๑) กล่าวอารัมภบทถึงจุดมุ่งหมายในการอภิปราย

๒) แนะนำผู้ร่วมอภิปรายเป็นรายบุคคล โดยบอกชื่อ หน้าที่การงาน ความสนใจ และความเกี่ยวข้องกับหัวข้อการอภิปราย

๓) กล่าวนำประเด็นที่จะอภิปราย และเชิญผู้อภิปรายทีละคนให้แสดงความคิดเห็นในแง่ที่ตนถนัด

๔) สรุปหรือเสริมข้อความตามสมควร เมือผู้อภิปรายแต่ละคนกล่าวจบ

๕) เปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ซักถามผู้อภิปรายในตอนท้าย

๖) กล่าวสรุปทั้งหมดก่อนปิดการอภิปราย

๒ ผู้ฟัง

๑) ปรบมือต้อนรับเมื่อมีการแนะนำผู้พูด

๒) รักษามารยาทในการฟัง เช่น ตั้งใจฟัง ไม่ส่งเสียงดัง ไม่รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มในขณะที่ฟัง ไม้โห่ฮา เมื่อผู้พูดพูดถูกใจ ควรปรบมือให้แทน เป็นต้น

๓ หัวข้อเรื่อง

๑) ไม่ควรเป็นปัญหาที่กว้างจนเกินไป จนสรุปผลไม่ได้

๒) ควรเป็นปัญหาที่มีสาระ ที่เสนอแนะให้นำไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

๓) ควรเป็นปัญหาที่คนอื่นก็อาจประสบเช่นเดียวกัน

๔) ควรเป็นปัญหาที่พบกันเสมอ ๆ เช่น การป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน

๕) เป็นเรื่องที่สังคมส่วนใหญ่เข้าใจยากหรือยังเข้าใจไม่ถูกต้อง

๔ สถานที่ ในการจัดหาสถานที่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมสำหรับการพูดในครั้งนั้น ๆ

รูปแบบของการอภิปราย

๑ การอภิปรายกลุ่ม

๒ การอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้

๓ การอภิปรายแบบแพนเนล

๔ การอภิปรายแบบโต๊ะกลม

๕ การอภิปรายแบบฟอรัม

๖ การอภิปรายแบบสัมมนา

๗ การอภิปรายแบบสนทนา

๘ การอภิปรายในที่ประชุม

๙ การอภิปรายแบบโต้วาที (Debate)

วัตถุประสงค์ของการอภิปราย

๑. เพื่อหาข้อเท็จจริง

๒. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็น

๓. เพื่อวัดและตรวจสอบทิศทางหรือความรู้สึกของสมาชิกของสังคมหรือกลุ่มต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นประเด็นสนใจ

๔. เพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความสนใจและเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหา

๕. เพื่อนำข้อมูลความรู้และความคิดเห็นไปประกอบการตัดสินใจ

๖. เพื่อแก้ปัญหาและหาทางออกร่วมกันของกลุ่ม

ลักษณะและประเภทของการอภิปราย

๑. การอภิปรายในที่ประชุม

๒. การอภิปรายทั่วไป

๓. การอภิปรายแบบมีวิทยากร/ผู้ร่วมอภิปราย

ความหมายของการเสวนา

การสานเสวนา (dialogue) เป็นรูปแบบหนึ่งของการสนทนา ที่มุ่งให้เกิดความเข้าใจ ทั้งมุมมองของตนและของผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น โดยรากศัพท์แล้ว dia แปลว่าผ่าน logos แปลว่าคำหรือความหมาย เมื่อรวมกันได้เป็นคำว่า dialogue ซึ่งหมายถึงกระบวนการทำให้เกิดความหมาย ที่ไหลลื่นผ่านไปในหมู่ผู้สนทนา เมื่อแปลเป็นไทยว่าสานเสวนา จึงอยากให้หมายถึงการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ (เสวนา) ที่มุ่งสานความหมายและความเข้าใจ โดยยอมรับความแตกต่างของจุดยืน ความคิด และอัตลักษณ์ของผู้สนทนา

เอกสารอ้างอิง

https://www.gotoknow.org/posts/476325

http://www.dek-d.com/board/view/1883359/

http://www.eqd.cmu.ac.th/km/eqd_routine/data/eqd-edu/03_seminar-prepr-method-13.html

https://sites.google.com/a/htp.ac.th/kar-phud-xphipray-pheux-senx-khwam-khid-hen-ni-thi-prachum_/khwam-hmay-laea-khwam-sakhay-khxng-kar-xphipray

http://schoolweb.eduzones.com/nisarat/content.php?view=20130327220432hIVWxmI

https://www.gotoknow.org/posts/2027



http://www.peace.mahidol.ac.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=351&Itemid=157


ข้อสอบ 15 ข้อ

1. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการอภิปราย

ก. ผู้พูด

ข. ผู้ฟัง

ค. หัวข้อเรื่อง

ง. เจ้าหน้าที่ตำรวจ



2. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของการอภิปราย

ก. ผู้พูด

ข. ผู้ฟัง

ค. หัวข้อเรื่อง

ง. ถูกทุกข้อ



3. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของผู้พูดในการอภิปราย

ก. กล่าวอารัมภบทถึงจุดมุ่งหมายในการอภิปราย

ข. แนะนำผู้ร่วมอภิปรายเป็นรายบุคคล โดยบอกชื่อ หน้าที่การงาน ความสนใจ และความเกี่ยวข้องกับหัวข้อการอภิปราย

ค. กล่าวนำประเด็นที่จะอภิปราย และเชิญผู้อภิปรายทีละคนให้แสดงความคิดเห็นในแง่ที่ตนถนัด

ง. ปรบมือต้อนรับเมื่อมีการแนะนำผู้พูด



4. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของผู้ร่วมอภิปราย

ก. รักษาเวลาในการพูด

ข. พูดให้ตรงประเด็น จัดลำดับความคิดให้ดี

ค. แสดงความคิดเห็นโดยบริสุทธิ์ ไม่ก้าวร้าวหรือเอาใจผู้หนึ่งผู้ใด

ง. ปรบมือต้อนรับเมื่อมีการแนะนำผู้พูด



5. ข้อใดเป็นมารยาทในการฟังการอภิปราย

ก. ปรบมือต้อนรับเมื่อมีการแนะนำผู้พูด

ข. รักษาเวลาในการพูด

ค. พูดให้ตรงประเด็น จัดลำดับความคิดให้ดี

ง. แสดงความคิดเห็นโดยบริสุทธิ์ ไม่ก้าวร้าวหรือเอาใจผู้หนึ่งผู้ใด



6. ข้อใดเป็นหัวข้อเรื่องที่ควรอภิปราย

ก. ไม่ควรเป็นปัญหาที่กว้างจนเกินไป จนสรุปผลไม่ได้

ข. ควรเป็นปัญหาที่มีสาระ ที่เสนอแนะให้นำไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

ค. ควรเป็นปัญหาที่คนอื่นก็อาจประสบเช่นเดียวกัน

ง. ถูกทุกข้อ



7. ข้อใดไม่ใช่หัวข้อเรื่องที่ควรอภิปราย

ก. ควรเป็นปัญหาที่กว้าง จนสรุปผลไม่ได้

ข. ควรเป็นปัญหาที่มีสาระ ที่เสนอแนะให้นำไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

ค. อุบัติเหตุบนท้องถนน

ง. ถูกทุกข้อ



8. ข้อใดเป็นรูปแบบของการอภิปราย

ก. การอภิปรายกลุ่ม

ข. การอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้

ค. การอภิปรายแบบแพนเนล

ง. ถูกทุกข้อ



9. ข้อใดไม่ใช่รูปแบบของการอภิปราย

ก. การอภิปรายกลุ่ม

ข. การอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้

ค. การอภิปรายแบบแพนเนล

ง. การอภิปรายเดี่ยวไมโครโฟน



10. การอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้ ต้องมีบุคคลอย่างน้อยกี่ฝ่าย

ก. 1

ข. 2

ค. 3

ง. 4



11. การอภิปรายแบบสนทนา ต้องมีคนอย่างน้อยกี่คน

ก. 1

ข. 2

ค. 3

ง. 4



12. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของการอภิปรายแบบโต้วาที

ก. ประธานเป็นผู้รักษาระเบียบการ

ข. ฝ่ายค้าน

ค. ฝ่ายนำเสนอ

ง. ถูกทุกข้อ



13. ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของการอภิปราย

ก. เพื่อหาข้อเท็จจริง

ข. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็น

ค. เพื่อวัดและตรวจสอบทิศทางหรือความรู้สึกของสมาชิกของสังคมหรือกลุ่มต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นประเด็นสนใจ

ง. ถูกทุกข้อ



14. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการอภิปราย

ก. เพื่อสอบหาข้อเท็จจริง

ข. เพื่อหาข้อเท็จจริง

ค. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็น

ง. เพื่อวัดและตรวจสอบทิศทางหรือความรู้สึกของสมาชิกของสังคมหรือกลุ่มต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นประเด็นสนใจ



15. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการอภิปราย

ก. การอภิปรายในที่ประชุม

ข. การอภิปรายทั่วไป

ค. การอภิปรายในที่ลับหูลับตา

ง. การอภิปรายแบบมีวิทยากร/ผู้ร่วมอภิปราย



เฉลย 1.ง 2.ง 3.ง 4.ง 5.ก 6.ง 7.ข

8.ง 9.ง 10.ข 11.ข 12.ง 13.ง 14.ก 15.ค


รวบรวมข้อมูลโดย : นายสถิต สมเสงี่ยม


ดาวน์โหลดไฟล์ : การอภิปรายและการเสวนา


ตัวอย่างไฟล์ :

แสดงความคิดเห็น

1 ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ4 ธันวาคม 2565 เวลา 10:09

    Gonzo’s Quest and Mega Moolah are two of the preferred progressive jackpot games around, with Parimatch also delivering in terms of|in relation to} customer assist, banking and cellular gambling. Regular promotions can be found to existing clients, adding to the casino’s generous welcome bonus. Live casinos 카지노 사이트 aren’t too dissimilar to your box-standard online on line casino. They also let you bodily communicate to the on line casino workers and other players to offer the user a much more|a method more} genuine gambling experience. Live casinos are sort of nonetheless of their infancy… however in a couple of of} years’ time they're more likely to|prone to} overtake the net on line casino scene, and potentially land-based casinos too. Selecting a web-based on line casino to play your favorite games shouldn’t be a stressful or tedious task.

    ตอบลบ
Emoji
(y)
:)
:(
hihi
:-)
:D
=D
:-d
;(
;-(
@-)
:P
:o
:>)
(o)
:p
(p)
:-s
(m)
8-)
:-t
:-b
b-(
:-#
=p~
x-)
(k)