พระพุทธศาสนาในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว



รายงาน

เรื่อง พระพุทธศาสนาในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในประเทศอาเซียน

นำเสนอ

******************

จัดทำโดย

***********************

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดการกิจการพระพุทธศาสนาในอาเซียน

รหัสวิชา (๔๐๖ ๔๐๕) ๒ นก.

สาขาการจัดการเชิงพุทธ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์

ชั้นปีที่ *********** ภาคเรียนที่ ************* ปีการศึกษา ๒๕**************

*********************

คำนำ

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดการกิจการพระพุทธศาสนาในอาเซียน ในหัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง พระพุทธศาสนาในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในประเทศอาเซียน เนื้อหาในรายงานเล่มนี้ส่วนใหญ่จะนำเสนอถึง วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวลาวเป็นหลัก รวมถึงประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาของประเทศลาว และยังมีการกล่าวถึงประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศอื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนด้วย และศาสนาอื่นนอกจากพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนขึ้นว่าแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันอย่างไร

ผู้จัดทำมั่นใจว่าหากท่านได้อ่านรายงานเล่มนี้ เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม ท่านจะต้องได้รับข้อมูลที่ดีที่สุดจากรายงานเล่มนี้อย่างแน่นอน หากท่านต้องการเนื้อที่มีความละเอียดมากกว่านี้ ผู้จัดทำ แนะนำให้ท่านเปิดไปที่หน้าเอกสารอ้างอิง เพื่อดูแหล่งที่มาของข้อมูลในรายงานเล่มนี้


***********************



สารบัญ

เรื่อง หน้า

คำนำ ก

สารบัญ ข

บทนำ ๑

ศาสนาของประชาชนในประชาคมอาเซียน ๑

ศาสนาหลักของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน ๒

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านและการนับถือพระพุทธศาสนาของ

ประเทศเพื่อนบ้าน ในปัจจุบัน ๗

ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในลาว ๑๑

จุดเปลี่ยนระหว่างพุทธศาสนาในจีนกับลาว ๑๒

การให้โอกาสพระสงฆ์เผยแผ่ร่วมกับผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ ๑๒

พระพุทธศาสนาในประเทศลาว ๑๓

อิทธิพลของพุทธศาสนาต่อประเทศลาว ๑๖

ด้านสังคม ๑๖

ด้านการเมือง ๑๖

ด้านเศรษฐกิจ ๑๗

ภาษาประจำชาติของประเทศลาว และการนับเลข ๑๗

การนับถือศาสนาของชาวลาว ๑๗

สถาปัตยกรรมในประเทศลาว ๑๗

ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ประเทศลาว ๑๗

รำวงบัดสลบ ๒๐

สารบัญ(ต่อ)

การตักบาตรข้าวเหนียว ๒๑

ประเพณีประเทศลาว ๒๒

วิถีชีวิตการดำรงอยู่ของชาวลาว ๒๖

ชุดประจำชาติลาว ๒๖

อาหารประจำชาติลาว ๒๗

ดอกไม้ประจำชาติลาว ๒๗

บทสรุป ๒๘



เอกสารอ้างอิง ๒๙



บทนำ

ศาสนาของประชาชนในประชาคมอาเซียน



ศาสนานอกจากจะเป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ และจิตวิญญาณของประชาชนในชุมชนและประเทศนั้นๆ แล้ว ยังเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งและควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมให้ดำเนินไปตามครรลองหรือบรรทัดฐานของสังคม โดยปราศจากการพันธนาการ ดังนั้น ศาสนา จึงเป็นประดิษฐกรรมทางความคิดอันสูงส่ง

และมีคุณูปการต่อโลกและมนุษยชาติทั้งมวล รายงานเล่มนี้ให้ความสำคัญศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน อย่างไรก็ตามก่อนที่จะกล่าวถึงศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน ควรจะทำความเข้าใจภาพรวม เพื่อเป็นพื้นฐานการทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นเสรีภาพและหลักการพื้นฐานที่ประชาชนและรัฐสมาชิกอาเซียนจะต้องเคารพในวัฒนธรรม ภาษาและศาสนาที่แตกต่างกัน และสร้างความเป็นเอกภาพในความหลากหลายดังกล่าว เพื่อความมั่นคงของประชาคมอาเซียนโดยทั่วไป ศาสนา แปลว่า “คำสอน” และหมายความถึง “คำสั่ง” ด้วย จึงเรียกรวมกันว่า “คำสั่งสอน” อย่างไรก็ตามมีการให้ความหมายและความสำคัญของศาสนาไว้โดยปราชญ์ทางศาสนามากมายดังนี้ ศาสนา คือ ลัทธิความเชื่อของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้นๆ คำสอน หลักธรรม หรือลัทธิที่ศาสดาแห่งศาสนาใดศาสนาหนึ่งได้บัญญัติขึ้น หรือได้ประกาศสถาปนาขึ้น โดยมีบุคคลในสังคมใดสังคมหนึ่ง ได้ให้ความศรัทธา เลื่อมใสและยึดเป็นหลักปฏิบัติตน คำสอนหรือคำสั่งสอนที่จะเรียกว่าเป็นศาสนา ต้องมีลักษณะหรือมีองค์ประกอบ คือ มีศาสดา หรือผู้ก่อตั้งริเริ่มคิดค้นหลักคำสอนจนสามารถตั้งเป็นกฎเกณฑ์แน่นอนและนำไปสั่งสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้ มีคำสอน คือ หลักธรรม อันเป็นคำสอนเกี่ยวกับหลักศีลธรรม จรรยา เว้นความชั่วทำความดี ปลูกฝังความเชื่อในอำนาจที ่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือเชื่อผลของการกระทำหรือกรรม มีสาวก หรือผู้ปฏิบัติตาม คือ ผู้เลื่อมใสศรัทธาและปฏิบัติตามคำสอนของศาสดานั้นๆ โดยถือเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต มีการสืบทอดศาสนาในรูปของนักบวช เช่น พระภิกษุ และหรือบาทหลวง เป็นต้น มีพิธีกรรมของศาสนา เช่น การอุปสมบท การละหมาด การรับศีลล้างบาป มีศาสนสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร สุเหร่า หรือมัสยิดตามที่ศาสนานั้นๆ เรียกขาน ศาสนาสำคัญของโลกในปัจจุบันประกอบด้วย ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม โดยศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีแหล่งกำเนิดในเอเชียใต้แถบประเทศสาธารณรัฐอินเดียและปากีสถาน มีอายุมากกว่า ๕,๐๐๐ ปี ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่ นับถือ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐอินเดียและเนปาล ส่วนศาสนาพุทธ เป็นศาสนาเก่าแก่เป็นอันดับที่ ๒ เกิดหลังศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๒,๐๐๐ ปี มีแหล่งกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐอินเดียและเนปาล เกิดก่อนศาสนาคริสต์ประมาณ ๕๔๓ ปี ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือ ได้แก่ ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐศรีลังกา

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐกัมพูชา สาธารณรัฐสิงคโปร์ และภูฏาน เป็นต้น สำหรับศาสนาที่เก่าแก่เป็นอันดับที่ ๓ มีแหล่งกำเนิดแถบประเทศปาเลสไตน์และอิสราเอล หลังพุทธศาสนา ๕๔๓ ปี ประเทศที่มีประชากรนับถือเป็นศาสนาประจำชาติหลายประเทศทั่วโลก สำหรับศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาเก่าแก่เป็นอันดับที่ ๔ มีแหล่งกำเนิดในนครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย หลังศาสนาพุทธ ๑,๑๑๓ ปี และหลังศาสนาคริสต์ ๖๐๐ ปี ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐปากีสถาน และสาธารณรัฐบังคลาเทศ



ศาสนาหลักของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน

รัฐสมาชิกอาเซียนที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประกอบด้วย ราชอาณาจักรกัมพูชา ๙๕% ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ๗๕% ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ๙๐% ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ๔๒.๕% ราชอาณาจักไทย ๙๕% และประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๗๐% นับถือศาสนาอิสลาม ประกอบด้วยประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม ๖๗% ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๘๗% และประเทศมาเลเซีย ๖๐.๔% นับถือศาสนาคริสต์ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ๙๒% นอกจากนี้ยังนับถือศาสนาพุทธ ในเปอร์เซ็นต์ที่สูงในประเทศมาเลเซีย ๑๙.๒% และประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม ๑๓% ศาสนาคริสต์ ในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๑๕% ประเทสาธารณรัฐสิงคโปร์ ๑๔.๕% ประเทศมาเลเซีย ๑๑.๖% และประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม ๑๐% อิสลาม ๑๐% ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ๑๔.๕% ประชาชนในรัฐสมาชิกอาเซียนดังกล่าวข้างต้น ได้ยึดหลักการสำคัญของศาสนาที่ตนเองนับถือซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตหรือแบบแผนของการดำเนินชีวิต ศิลปะ สถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม ตลอดจนการเมืองการปกครองประเทศอย่างเป็นอัตลักษณ์ที่เด่นชัดของแต่ละประเทศ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน จึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะเข้าไปสู่หัวใจของประชาชาตินั้น และเป็นพื้นฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติบนความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนา ภายใต้เสาหลักของประชาคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ซึ่งเกื้อกูลและเกื้อหนุนต่อประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community-APSV) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC)แนวทางการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศภาคีสมาชิกศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ล้วนถือกำเนิดขึ้นในทวีปเอเชีย กล่าวคือ ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามถือกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธถือกำเนิดในประเทศเอเชียใต้และแพร่หลายเข้ามาแทนที่ความเชื่อและการเคารพนับถือของประชาชนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมตัวกันเป็นอาเซียนและจะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนใน พ.ศ.๒๕๕๘ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อถือทางศาสนาของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศนั้นๆ จึงเป็นวิถีทางหรือพื้นฐานที่สำคัญที่สุดที่จะเข้าไปสู่หัวใจของประชาชาตินั้นๆ

ศาสนาของประชาชนในประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม ประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาราม เดิมประชาชนนับถือความเชื่อที่สืบทอดกันมาตามประเพณี ต่อมาได้รับอิทธิพลทางศาสนาพุทธจากอาณาจักรศรีวิชัย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ซึ่งมีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่ภาคใต้ของประเทศไทย ประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซียทั้งหมด อาณาจักรศรีวิชัยนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน พุทธศตวรรษที่ ๑๙ อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมลง ศาสนาอิสลามเข้ามาแทนที่และกลายเป็นศาสนาที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือและเป็นศาสนาประจำชาติ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ ๖๗% และเป็นศาสนาประจำชาติ ศาสนาพุทธ ๑๓% และศาสนาคริสต์ ๑๐% ที่เหลือนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ศาสนาของประชาชนในราชอาณาจักรกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชานั้น ความเชื่อดั้งเดิมของประชาชน คือ นับถือตามบรรพบุรุษ ได้แก่ นับถือโลกธาตุ ดิน น้ำลม ไฟ และผี ต่อมาได้รับเอาวัฒนธรรมอินเดียมาใช้ในพิธีกรรมต่างๆ โดยศาสนาแรกที่ประชาชนนับถือ ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ต่อมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานและเถรวาทตามลำดับ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งเริ่มเมื่อ พ.ศ.๑๗๒๔ ได้ทรงทำนุบำรุงศาสนาจนเจริญรุ่งเรืองและได้รับการนับถือจากประชาชนทุกระดับตั้งแต่กษัตริย์ลงมา และเป็นศาสนาประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชาในปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ๙๕% นับถือศาสนาอิสลาม ๓% ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ศาสนาของประชาชนในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ความเชื่อดั้งเดิมของประชาชนมีลักษณะเช่นเดียวกันกับประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่นับถือตามบรรพบุรุษสืบกันมาตามประเพณี ศาสนาพุทธได้แพร่หลายและหรือเผยแพร่เข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียในปัจจุบัน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓ โดยพระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์ของอินเดียได้ส่งพระโสภณพระอุตตรเถระเป็นมรณะทูตเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนแถบนี้ที่รู้จักกันในนามสุวรรณภูมิ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ได้เกิดอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่อาณาจักรหนึ่ง ชื่อ “อาณาจักรศรีวิชัย” นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน โดยพบหลักฐานทางโบราณวัตถุที่สำคัญจำนวนมาก ได้แก่พระพิมพ์ดินดิบและรูปพระโพธิสัตว์ ซึ่งสร้างขึ้นตามความคติความเชื่อของผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน พุทธศตวรรษที ่ ๑๕ อาณาจักรศรีวิชัยบนเกาะชวาภาคกลางได้ติดต่อสัมพันธ์กับแคว้นเบงกอล โดยส่งพระภิกษุและช่างฝีมือมาเผยแผ่พุทธศาสนาและศิลปะแบบปาละ โดยการสร้างพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ในดินแดนแห่งนี้และมีพุทธสถานที่สำคัญหลายแห่งที่แสดงให้เห็นความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียในอดีต โดยเฉพาะพุทธศาสนสถานบุโรพุทโธ/โบโรบุดูร์(บรมพุทโธ) ซึ่งตั้งอยู่ที่ราบเกฑุ (kedu) ในภาคกลางของชวา และพระวิหารเมนดุต (Mendut) ต่อมาใน พ.ศ.๒๐๑๒ ศาสนาอิสลามได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศสาธาณรัฐอินโดนีเซีย ศาสนาพุทธตกอยู่ในภาวะเสื่อมถอยลงมาและกลายเป็นศาสนาของชนกลุ่มน้อยในที่สุด ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ๘๗% นับถือศาสนาคริสต์ ๙.๕% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๑.๘% และศาสนาพุทธ ๑.๓%ตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัยที่ได้กล่าวถึงมาแล้วข้างต้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้แผ่เข้าสู่ประเทศมาเลเซียตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๓ แต่ไม่แพร่หลายนัก ต่อมาในพุทธศตวรรษาที่ ๑๒ ได้รับอิทธิพลศาสนาพุทธนิกายมหายานจากอาณาจักรศรีวัย ต่อมาศาสนาอิสลามได้เข้ามาเผยแพร่หลายอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ในสมัยรพะเจ้าปรเมศวร แห่งอาณาจักรมะละกาเป็นต้นมา ทำให้ศาสนาพุทธหมดความสำคัญลงประเทศมาเลเซีย ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ๖๐.๔% นับถือศาสนาพุทธ ๑๙.๒% ศาสนาคริสต์ ๑๑.๖% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๖.๓% และอื่นๆ ๒.๕%

ศาสนาของประชาชนในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ศาสนาพุทธเข้าสู่ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์ของอินเดีย พบว่าศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้เจริญรุ่งเรืองและประดิษฐานมั่นคงสืบมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๖ เพราะได้พบหลักฐานเป็นคำจารึกภาษาบาลีระบุว่าศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้เข้ามาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชดังกล่าวแล้ว โดยได้รับการทำนุบำรุงจากกษัตริย์และประชาชนสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ๙๐% และเป็นศาสนาประจำชาติ นับถือศาสนาคริสต์ ๕% ศาสนาอิสลาม ๓.๘% และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๐.๐๕%

ศาสนาของประชาชนในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประมาณ พ.ศ.๖๑๒ ประชาชนนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน พ.ศ.๑๒๙๐ กลับไปนับถือลัทธิพื้นเมือง คือนับถือผีตามที่บรรพบุรุษสืบทอดมา ซึ่งบางส่วนยังคงนับถือสืบทอดมาจนปัจจุบัน พ.ศ.๑๘๙๖ กษัตริย์ของลาวขณะนั้น (อาณาจักรล้านช้าง) ส่งทูตไปทูลขอนิมนต์พระสงฆ์จากอาณาจักรเขมรเข้ามาเผยแพร่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทในอาณาจักรล้านช้าง จนศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเจริญรุ่งเรืองประดิษฐานมั่นคงสืบมาจนถึงปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ๗๕% และเป็นศาสนาประจำชาติ นับถือศาสนาคริสต์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน และนับถือศาสนาอิสลาม ประมาณ ๓๐๐ คน ที่เหลือนับถือผี ๑๖-๑๗%ศาสนาของประชาชนในประเทศมาเลเซียในอดีตประเทศมาเลเซียเคยได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธมา

ศาสนาของประชาชนในประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เดิมประชาชนได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมและพุทธศาสนาจากอาณาจักศรีวิชัยในสมัยเรืองอำนาจ ที่ได้แผ่ขยายมาจนถึงประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ในพุทธศตวรรษที่ ๗ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ตามมาด้วยศาสนาพุทธนิกายมหายานระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ในขณะที่เมืองขึ้นของประเทศสเปนและสหรัฐอเมริกาได้รับอิทธิพลทางศาสนาคริสต์จากประเทศเจ้าของอาณานิคมอย่างกว้างขวางทั่วทั้งประเทศ ส่วนทางภาคใต้ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลของศาสนาอิสลาม และเมื่อชาวอินเดียและปากีสถานอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานก็ได้นำศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเข้ามาด้วย ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ๙๒% ศาสนาอิสลาม ๕% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๒% และศาสนาพุทธ ๑.๕%

ศาสนาของประชาชนรัฐสิงคโปร์เป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย ประชาชนจึงได้รับอิทธิพลทางศาสนาเช่นเดียวกับประเทศมาเลเซีย กล่าวคือ ศาสนาพุทธได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศนี้ตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย ศาสนาพุทธนิกายมหายานจึงเจริญมั่นคงเนื่องจากชาวจีนโพ้นทะเลเจ้ามาตั้งรกรากในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ก็มีชาวมาเลย์ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามและชาวอินเดียซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๔% ไม่นับถือศาสนา ๒๕% ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ๔๒.๕% ศาสนาอิสลาม ๑๔.๙% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๔% ไม่นับถือศาสนา ๒๕%

ศาสนาของประชาชนในราชอาณาจักรไทย ก่อนที่ศาสนาพุทธจะเข้ามาสู่ราชอาณาจักรไทย ประชาชนส่วนใหญ่นับถือลัทธิพื้นเมืองตามที่สืบทอดกันมา ศาสนาพุทธเข้ามาสู่ดินแดนที่เป็นราชอาณาจักรไทยปัจจุบันในพุทธศตวรรษที่ ๓ โดยพระสมณทูตพระโสภณเถระและพระอุตรเถระที่พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ของอินเดียส่งเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ ศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยทั้งด้านวรรณกรรมและพิธีกรรมในราชสำนัก อีกศาสนาหนึ่งคือ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และเชื่อว่าเข้ามาก่อนสมัยสุโขทัย เนื่องจากพบโบราณสถานและรูปสลักเทพเจ้าซึ่งสร้างขึ้นตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นจำนวนมากในราชอาณาจักรไทย โดยโบราณสถานและรูปสลักเทพเจ้าดังกล่าวมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๐ หรือเก่ากว่านั้น อย่างไรก็ตามกษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยได้ทำนุบำรุงศาสนาพุทธนิกายเถรวาทให้เจริญรุ่งเรืองประดิษฐานมั่นคงสืบมาจนถึงปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ๙๕% เป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย ทั้งนี้เพราะมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๙ ว่าระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม ๔% ศาสนาคริสต์และอื่นๆ ๑%

ศาสนาของประชาชนในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประชาชนเวียดนามได้รับอิทธิพลทางศาสนาผ่านทางประเทศจีน โดยเริ่มแรกลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อ ได้เผยแพร่เข้าสู่ประเทศเวียดนามก่อน จนถึง พ.ศ. ๗๓๒ คณะธรรมทูตจากประเทศจีนหลายคณะจึงได้ไปเผยแพร่และประดิษฐานศาสนาพุทธนิกายมหายาน และได้รับการฟื้นฟูใน พ.ศ.๑๕๑๒ ต่อมาได้รับการนับถืออย่างแพร่หลาย โดยกษัตริย์ของเวียดนามทรงเอาใจใส่ทำนุบำรุงพุทธศาสนาเป็นอย่างดีจนตกทอดมาถึงปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ๗๐% นับถือศาสนาคริสต์ ๑๕% ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลามและลัทธิขงจื๊อ

ศาสนาในประเทศมาเลเซีย ส่วนใหญ่ของศาสนาที่เด่น ๆ ของโลกจะถูกแสดงและตามด้วยผู้อยู่อาศัยของประเทศมาเลเซีย ศาสนาเช่นอิสลามพุทธฮินดูซิกข์, เต๋า, ขงจื้อและศาสนาคริสต์มีค่อนข้างมากในการแสดงตนของประเทศนี้ ความเชื่อและการปฏิบัติของศาสนาเหล่านี้ได้ให้มาเลเซียอักขระเชื้อชาติที่แตกต่างอย่างมาก การปฏิบัติทางศาสนาที่แตกต่างกันในประเทศมาเลเซียได้หล่อเลี้ยงสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมซึ่งเป็นหลายเชื้อชาติและหลายมิติ

อิสลามเป็นศาสนาประจำชาติและศาสนาที่โดดเด่นที่สุดของมาเลเซีย เกี่ยวกับร้อยละ 58 ของจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศมาเลเซียปฏิบัติศาสนาอิสลาม ในความเป็นจริงมากที่สุดของผู้ติดตามของศาสนาอิสลามเป็นมาเลเซีย เนื่องจากความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งหุ้นประเทศที่มีประเทศจีนประมาณ 27 เปอร์เซ็นต์ของคนจากประเทศมาเลเซียเป็นผู้ติดตามของพุทธศาสนา เกี่ยวกับ 8% ของประชากรเป็นชาวฮินดูศาสนาฮินดูมีประสบการณ์ส่วนใหญ่โดยมีประชากรอินเดียที่อาศัยอยู่ในประเทศศาสนาอื่น ๆ เช่นคริสต์ศาสนาเต๋า, ขงจื้อและศาสนาซิกข์ประกอบด้วยประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด ศาสนาคริสต์ได้ทำผลกระทบที่มีขนาดใหญ่เมื่อมาเลเซียตะวันออกในการเปรียบเทียบกับคาบสมุทรมาเลเซีย คนพื้นเมืองหลายแห่งในมาเลเซียตะวันออกได้ปรับศาสนาคริสต์เป็นศาสนาของพวกเขา

ทั้งๆที่มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามเด่นสถานะของเสรีภาพทางศาสนาหรือเสรีภาพในการนับถือศาสนาใด ๆ ที่ได้รับการรับประกันโดยรัฐธรรมนูญของประเทศ นี้ได้รับผลกระทบจากสังคมที่มีขนาดใหญ่สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทางเชื้อชาติที่กฎหมายหรือสัญญาในประเทศ ดังนั้นศาสนาในมาเลเซียเล่นเป็นส่วนสำคัญมากในการดำเนินชีวิตของประชาชน มีมัสยิดจำนวนมากศาลเจ้าโบสถ์และวัดทั่วประเทศมาเลเซีย



การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านและการนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศเพื่อนบ้าน ในปัจจุบัน

หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพานที่เมืองกุสินาราแล้ว ได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย จัดไว้เป็นหมวดหมู่จนกระทั่งสมัย

ของพระเจ้าอโศกมหาราชพระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งและได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งที่ 3 ในสมัยของพระองค์หลังจากทำสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงจัดส่งสมณทูต จำนวน 9 สาย เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่างๆทำให้พระพุทธศาสนาขยายไปทั่วและเจริญรุ่งเรืองเท่าทุกวันนี้สำหรับดินแดนสุวรรณภูมิ(เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)คณะสมณทูตที่เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้แก่ พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ ซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะเผยแผ่เข้ามาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 500 เพราะปรากฏหลักฐานอยู่ในดินแดนแถบนี้ ได้แก่ เจดีย์ สถูป พระพุทธรูป ธรรมจักรศิลา เป็นต้น

พระพุทธศาสนาในประเทศสหภาพพม่า หรือเมียนมาร์



พระพุทธศาสนาที่เผยแผ่เข้าสู่ประเทศสหภาพพม่าในระยะแรกคือพระพุทธศาสนาสัทธิเถรวาทหรือนิกายหินยานได้เข้าไปประดิษฐานที่เมืองสุธรรมบุรีหรือเมืองสะเทินซึ่งเป็นเมืองหลวงของมอญซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศส่วนพม่าตอนเหนือมีเมืองพุกามเป็นเมืองหลวง

พระพุทธศาสนาลัทธิอาจริยวาทหรือนิกายมหายานได้เผยแผ่มาจากแคว้นเบงกอลและโอริสาของอินเดียในสมัยของพระเจ้าอนุรุทธมหาราช (พระเจ้าอโนรธามังช่อ) ทรงครองราชย์ที่เมืองพุกาม(พ.ศ. 1587) พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ทรงปรีชาสามารถมากทรงรวบรวมดินแดนของพม่าให้เป็นแผ่นดินเดียวกัน ได้สำเร็จและเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองสะเทินได้จึงทรงโปรดให้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์และไตรปิฎกจากเมืองสะเทิมไว้ที่เมืองพุกาม พร้อมกันนี้ประชาชนส่วนใหญ่ได้นับถือพระพุทธศาสนานิกายหินยาน และพระองค์ทรงเสื่อมใสศรัทธาในลัทธิหินยานด้วย ทำให้พระพุทธศาสนาในพม่าตอนใต้เสื่อมลง

นอกจากนี้พระเจ้าอโนรธามังช่อยังได้ทรงส่งสมณฑูตไปติดต่อกับลังกาและไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์มาจากลังกาด้วยในรัชสมัยของพระเจ้าธรรมเจดีย์กษัตริย์มอญขึ้นครองราชย์พระองค์ได้ทรงมีพระราชดำริว่าพระพทุธศาสนาในเมืองมอญในขณะนั้นเสื่อมลงมากจึงโปรดให้มีการชำระพระพุทธศาสนาในบริสุทธิ์โดยทรงให้พระภิกษุทุกรูปในเมืองมอญลาสิกขาและเข้ารับการอุปสมบทใหม่จากพระอุปัชฌาย์และพระอันดับที่ล้วนได้รับอุปสมบทจากลังกาเป็นผู้ให้อุปสมบทแต่หลังจากนั้นพระพุทธศาสนาก็เลื่อมลงอีก สาเหตุเนื่องมาจากพม่ากับมอญทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่กันอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งถึงประมาณ พ.ศ. 2300 เมื่อพระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่าได้ยกทัพไปทำลายกรุงหงสาวดีอย่างราบคาบ ชนชาติมอญก็สูญสิ้นอำนาจลงอย่างเด็ดขาดพระพุทธศาสนาในประเทศพม่าได้รับการทำนุบำรุงจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในสมัยพระเจ้ามินดง( พ.ศ. 2395-2420) พระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์การทำสังคายนาพระไตรปิฎกที่พม่าระหว่าง พ.ศ. 2411-2414 ณ เมืองมัณฑเลย์และโปรดเกล้าฯให้จารึกพระไตรปิฎกลงบนแผ่นหินอ่อนแล้วทำสถูปครอบไว้ ซึ่งยังปรากฎอยู่ที่เชิงเขาเมืองมัณฑะเลจนถึงทุกวันนี้ปี พ.ศ. 2429 พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกล้มลง จึงส่งผลให้พระพุทธศาสนาได้รับความกระทบกระเทือนตามไปด้วยแต่ถึงกระนั้น ประชาชนชาวพม่าก็ยังคงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแนบแน่นตลอดมา จนเมื่อพม่าได้รับเอกราช เมื่อ พ.ศ. 2491 ฯพณฯ อุนุ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกเมื่อ พ.ศ. 2493 และต่อมารัฐบาลได้ออกกฎหมายรับรองให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในปี พ.ศ. 2500

พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย



ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเผยแผ่เข้าสู่ประเทศกัมพูชาในช่วงที่อาณาจักรฟูนันและอาณาจักรเจนละเจริญรุ่งเรืองแต่เดิมประชาชนในอาณาจักรเหล่านี้นับถือนิกายไศวะ คือนับถือพระศิวะประพระอิศวรตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์

ส่วนพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาภายหลัง สาเหตุที่ชาวกัมพูชาหันมานับถือพระพุทธศาสนา เนื่องจากในรัชสมัยของพระเจ้าวรมัน (พ.ศ. 1021-1057) พระภิกษุนาคเสนซึ่งได้ติดตามพ่อค้าชาวฟูนันมาจากเมืองกวางตุ้งและได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ด้วย ทำให้พระองค์เกิดความเลื่อมใสและทรงยกย่องและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ต่างก็มีความเจริญและความเสื่อมใสไม่คงที่สุดแล้วแต่พระมหากษัตริย์ในแต่ละสมัยทรงเลื่อมใสศาสนาใดพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนี่งในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ( พ.ศ. 1511-1544)โดยทรงโปรดให้มีการนำเอาคัมภีร์จากต่างประเทศเข้ามาสู่อาณาจักรเป็นครั้งแรกและมีการส่งเสริมการปฎิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น

ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545-1593) พระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานซึ่งได้รับอิทธิพลจากนครศรีธรรมราชอย่างเคร่งครัด จนกระทั่งในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 – 1762) ทรงโปรดฯให้สร้างวัดคติมหายาน ต่อมาประชาชนส่วนใหญ่ได้หันมานับถือพระพุทธศาสนานิกายหินยานมากขึ้นและแม้แต่ปัจจุบันนี้ประชาชนส่วนใหญ่ของกัมพูชาก็นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานเช่นเดียวกับไทย เนื่องมาจากการได้รับอิทธิพลการแพร่หลายไปจากไทยนั่นเอง



พระพุทธศาสนาในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว



พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศลาวสมัยอาณาจักรหนองแส ราวๆ พุทธศตวรรษที่ 7 ต่อมาในรัชสมัยของเจ้าฟ้างุ้ม(ประมาณ พ.ศ. 1890) ซึ่งเป็นราชโอรสของเจ้าผีฟ้า เจ้าฟ้างุ้มได้อภิเษกสมรสกับพระนางแก้วยอดฟ้า ผู้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าศรีจุลราช

กรุงอินปัตถ์ในราชอาณาจักรกัมพูชาเมื่อเจ้าฟ้างุ้มได้ตีเมืองหลวงพระบางและเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1896 พระองค์ได้ทรงรวบรวมหัวเมืองต่างๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กล่าวสำหรับพระนางแก้วยอดฟ้าพระนางเองทรงเลื่อมใสและเคารพนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เมื่อพระนางเสด็จมาประทับ ณ อาณาจักรล้านช้าง ซึ่งขณะนั้นชาวอาณาจักรล้านช้างยังนับถือลัทธิผีสางเทวดาอยู่พระนางจึงกราบทูลให้เจ้าฟ้างุ้มแต่งคณะฑูตไปทูลของพระสงฆ์จากพระเจ้าศรีจุลราชและพระเจ้าศรีจุลราชก็ได้ทรงให้ความร่วมมือโดยส่งพระมหาปาสมัตเถระและพระมหาเทพลังกา พร้อมพระสงฆ์อีก 20 รูป เดินทางนำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ยังดินแดนประเทศลาว พร้อมกับได้พระราชทานพระพุทธรูปปัญจโลหะองค์หนึ่ง พระนามว่า “พระบาง”พร้อมด้วยพระไตรปิฎก และหน่อพระศรีมหาโพธิ์มาถวายแก่เจ้าฟ้างุ้มด้วยนับแต่นั้นมาพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทก็ได้ประดิษฐานในประเทศลาวและได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติในที่สุดพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองสืบมา จนถึงรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2091 – 2114) พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง ได้ทรงนำพระแก้วมรกตจากเมืองเชียงใหม่มาไว้ที่เมืองหลวงพระบาง เมื่อย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางไปเมืองเวียงจันทร์ ก็ทรงนำพระแก้วมรกตไปไว้ที่เมืองเวียงจันทร์ด้วย และได้ทรงโปรดฯให้สร้างพระธาตุหลวงไว้ที่นี้ด้วย

เมื่อสิ้นสุดรัชกาลของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชพระพุทธศาสนาในประเทศลาวไม่ค่อยเจริญรุ่งเรืองนักแต่ด้วยเหตุที่ประเทศลาวกับประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกัน ทำให้ประเทศทั้ง 2 มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นต่อกัน ไทยได้ให้ความช่วยเหลือทางศาสนามาโดยตลอดและเมื่อลาวตกเป็นอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2436พระพุทธศาสนาก็เสื่อมโทรมลงเพราะขาดการทำนุบำรุงและเมื่อลาวได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสแล้ว คณะสงฆ์ไทยก็มีส่วนช่วยปรับปรุงการศึกษาด้านศาสนาในลาว แต่เมื่อลาวตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลคอมมิวนิสต์แล้ว การติดต่อให้ความช่วยเหลือทางศาสนาระหว่างประเทศก็หยุดชะงักลง แต่ถึงกระนั้นก็ตามชาวลาวส่วนใหญ่ก็ยังมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแนบแน่นและพยายามประคับประคองพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นอยู่ในจนถึงปัจจุบัน







พระพุทธศาสนาในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม



การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเวียดนามตั้งแต่สมัยใด ยังไม่ชัดเจนนักแต่จากหลักฐานจดหมายเหตุของจีนที่ปรากฎอยู่สรุปได้ว่า เวียดนามทางตอนใต้เป็นที่ตั้งของอาณาจักรจัมปา แต่เดิมนั้นประชาชนในดินแดนนี้นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดูและมีการนับถือพระพุทธศาสนาประมาณกว่า พ.ศ. 950

ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1403-1433)พระองค์ทรงเสื่อมใสในพระพุทธศาสนามากทรงโปรดฯให้สร้างวัดทางพระพุทธศาสนาแห่งหนึ่งที่ดองเดือง ชื่อวัดมีโซนในพระพุทธศตวรรษที่ 8 พระภิกษุชาวอินเดียชื่อมหาชีวกะได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ยังเวียดนามและหลังจากนั้นก็ได้มีพระภิกษุหลายรูปได้เข้าไปมีบทบาทเกี่ยวกข้องกับพระพุทธศาสนาอย่างหลากหลาย เช่นการแปลคัมภีร์ประกาศคำสอน เป็นต้น แต่เรื่องทางศาสนาก็หยุดชะงักลง แต่คราวใดบ้านเมืองสงบสุขเพระพุทธศาสนาก็กลับมาเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีก จนถึงรัชสมัยของพระเจ้าดินห์โมดินห์ พระองค์ได้ทรงรวบรวมประเทศชาติให้เป็นปึกแผ่นเดียวกันได้สำเร็จและพ้นจากอำนาจของจีนและพระองค์ได้เอาใจใส่ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นที่นับถือกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ส่วนในสมัยราชวงศ์เล และราชวงศ์ลี พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เพราะพระมหากษัตริย ์ทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงมาโดยตลอดเมื่อเวียดนามตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2426พระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมและไม่ได้รับการทำนุบำรุงเท่าที่ควรพุทธศาสนานิกชนถูกกีดกันในการประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาชาวพุทธจึงเริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นแต ่ก็ได้รัการต่อต้านจากฝรั่งเศสที่เข้ามาครอบครองเวียดนาม ทั้งการยึดคัมภีร์และหนังสือทางพระพุทธศาสนาเอาไปเผาทำลายเสียเห็นจำนวนมากและเมื่อเวียดนามได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสแล้วก็ยังมีเหตุการณ์ทางการเมืองที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับศาสนา จนถึงกับมีการเดินขบวนประท้วงและเผาตัวเองของพระภิกษุ สามเณร และแม่ชี และเมื่อเวียดนามถูกรัฐบาลคอมมิวนิสต์เข้ามาปกครองพระพุทธศาสนาก็กลับเสื่อมโทรมลงอีกนับจากพุทธศตวรรษที่ 25 เป็นต้นมาพระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนามทั้งนิกายมหายานและนิกายเถรวาทไม่ค่อยเจริญรุ่งเรืองมากนัก ตรงกันข้ามกลับเสื่อมโทรมลงตามลำดับมากทั้งนี้เป็นเพราะสภาพความวุ่วายภายในประเทศทั้งการเมืองและภาวะสงครามที่มีขึ้นอยู่ตลอดเวลา



พระพุทธศาสนาในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย



ได้มีการสันนิษฐานกันว่า ชาวอินเดียคงเป็นผู้นำพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์เข้ามายังดินแดนประเทศอินโดนีเซียประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 และพระพุทธศาสนาในระยะแรกคงเป็นแบบเถรวาทหรือหินยานมี อาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งมีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่ภาคใต้ของไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียทั้งหมดเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาระหว่างจีนและอินเดีย หลักฐานที่ค้นพบส่วนใหญ่เป็นโบราณวัตถุ ที่สำคัญได้แก่ พระพิมพ์ดินดิบและรูปพระโพธิสัตว์ เป็นต้น ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14ได้ทรงนับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานและได้โปรดฯให้สร้างพุทธวิหารโบโรพุทธโธและราชวงศ์ไศเลนทร์ก็ได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับราชวงศ์ปาละแห่งแคว้นเบงกอล จึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันขึ้น ทั้งการส่งพระภิกษุไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยลันทา และการสร้างพระพุทธรูป เป็นต้น

เมื่อตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ศาสนาพราหมณ์ฮินดูได้เข้ามาเจริญรุ่งเรืองยังดินแดนอินโดนีเซีย ต่อมาเมื่อศาสนาพราหมณ์ฮินดูเสื่อมลง ศาสนาอิสลามก็เข้ามาเจริญแทนที่ กษัตริย์พระองค์แรกของอินโดนีเซียที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยมีเมืองมะลากาก็กลายเป็นศูนย์กลางศาสนาอิสลามและแพร่หลายเข้าสู่ชาวอินโดนีเซียในที่สุดส่วนชาวอินโดนีเซียที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานก็ยังคงมีอยู่บ้างประปรายในเกาะชวาสุมาตรา และเกาะบาหลี



พระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซีย และสาธารณรัฐสิงคโปร์



พระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ยังประเทศมาเลเซียประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 โดยเป็นแบบนิกายเถรวาทต่อมาบริเวณแหลมมลายูตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรศรีวิชัย พระพุทธศาสนานิกายมหายานจึงได้เผยแผ่เข้ามาสู่บริเวณนี้ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 พระพุทธศาสนาในมาเลเซียเสื่อมลงเนื่องจากมีการนับถือศาสนาอิสลามของราชวงศ์และประชาชนมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของพระเจ้าปรเมศวรแห่งอาณาจักรมะละกา พระองค์ได้ละทิ้งพระพุทธศาสนาหันไปนับถือศาสนาอิสลามและในสมัยสุลต่านมัลโมชาห์ พระองค์ศรัทธาในศาสนาอิสลามอย่างมาก รับสั่งให้ทำลายศาสนาสถาน พระพุทธรูป ตลอดถึงเทวรูปของศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ บังคับให้ประชาชนนับถือศาสนาอิสลาม ทำให้พระพุทธศาสนานิกายมหายานสิ้นสุดลงกลับกลายเป็นศาสนาอิสลามเข้ามาแทนที่ประเทศสิงคโปร์มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย แต่เดิมนั้นสิงคโปร์เป็นสหพันธ์เดียวกับมาเลเซีย การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน และประชาชนส่วนใหญ่ของสิงคโปร์เป็นชาวจีน นับถือพุทธศาสนานิกายมหายานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสิงคโปร์มีการกระทำกันอย่างจริงจังมีการแปลตำราและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเป็นภาษาต่าง ๆ อีกด้วย


ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในลาว



ถ้าหากถือเอาตามประวัติศาสตร์แห่งการสร้างพระธาตุบรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าตามหลักฐานทางคัมภีร์ที่ได้ระบุไว้ ก็ถือได้ว่า พระพุทธศาสนานั้นได้เข้ามาสู่ดินแดนบริเวณแถบในปลายพุทธกาลแล้ว เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการว่า พระพุทธศาสนานั้นเข้ามาสู่ดินแดนที่ชื่อว่า สุวรรณภูมิ ซึ่งก็รวมถึงประเทศลาวด้วย เริ่มมาแต่สมัยพระเจ้าอโศก พ.ศ. ๒๓๘ จากนั้นพระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองอยู่ ณ บริเวณแถบนี้สืบมาจนถึงปัจจุบัน โดยผลัดเปลี่ยนเป็นพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทและมหายาน

นับตั้งแต่สมัยเจ้าสุวรรณคำผงขึ้นเสวยราชย์ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๕-๑๘๙๖ ทรงมีพระ โอรส ๖ พระองค์ ใน ๖ พระองค์นั้น เจ้าฟ้างุ้มมีลักษณะผิดแผกจากพระโอรสองค์อื่น คือมีฟันและลิ้นเป็นสีดำ โหรทำนายว่าเป็นกาลกินีจึงได้นำไปลอยแพ บังเอิญแพได้มาถึงเมืองขอม ได้รับการเลี้ยงดูจากพระมหาปาสมันตเถระ ต่อมาได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในราชสำนักของพระเจ้าอินทปัตถ์ และได้อภิเษกสมรสกับพระธิดาของพระเจ้าอินทปัตถ์ พระนามว่า พระนางแก้วยอดฟ้า (ฟ้าหญิงคำหยาด)



ต่อมาบิดาให้ไปตีเมืองล้านช้าง และสามารถยึดเมืองล้านช้างได้ในปี พ.ศ. ๑๘๙๖ แล้วขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒๓ ของราชวงศ์ล้านช้าง ทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณี แผ่อาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง พระพุทธศาสนาได้เข้ามาสู่อาณาจักรล้านช้างในยุคนี้เป็นที่เด่นชัดอีกครั้งหนึ่ง กล่าวคือพระนางแก้วยอดฟ้าพระมเหสีผู้ทรงเคยนับถือพระพุทธศาสนามาก่อน เมื่อครั้งอยู่ในเมืองขอมทรงเห็นประชาชนนับถือผีสางเทวดา และฆ่าสัตว์บูชาเซ่นสรวงอยู่ในล้านช้าง จึงได้ทูลขอให้พระเจ้าฟ้างุ้มไปอัญเชิญพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ในอาณาจักรล้านช้างจากประเทศขอม

พระเจ้าฟ้างุ้มทรงเห็นด้วยจึงให้ทูตไปทูลขอนิมนต์พระสงฆ์ที่ขอมเข้ามาเผยแผ่ในประเทศลาว ในกาลครั้งนี้ได้มีพระสงฆ์ผู้แตกฉานในพระธรรมและพระไตรปิฎกจากขอม นำโดยพระมหาปาสมัตเถระและพระมหาเทพลังกา พร้อมกับพระสงฆ์อีก ๒๐ รูปและนักปราชญ์ผู้เรียนจบ พระไตรปิฎกอีก ๓ คน และพระราชทานพระพุทธรูป "พระบาง" และหน่อพระศรีมหาโพธิ์ และช่างหล่อพระพุทธรูปไป เมื่อคณะสงฆ์เดินทางมาถึงเวียงจันทน์ เจ้าเมืองจันทน์ได้นิมนต์พักสมโภชพระบางอยู่ ๓ คืน ๓ วัน แล้วคณะสงฆ์ก็เดินทางต่อไปยังเวียงคำ ชาวเมืองเวียงคำได้อาราธนาพระเถระไปในเมืองแล้วสมโภชนพระบางกัน ๓ คืน ๓วัน ครั้นจะเดินทางต่างปรากฏว่าพระพุทธรูปไม่สามารถยกไปได้ จึงเสี่ยงทายว่า “เทวดาอารักษ์คงปรารถนาจะให้พระบางอยู่ที่เวียงคำ” จากนั้นพระเถระและผู้ติดตามก็ได้เดินทางไปยังเมืองเชียงทอง ครั้นถึงเชียงทอง ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าฟ้างุ้มและพระมเหสี พระเถระและคณะจึงได้เผยแผ่พุทธศาสนาในลาวจนเจริญรุ่งเรืองประดิษฐานมั่นคง



จุดเปลี่ยนระหว่างพุทธศาสนาในจีนกับลาว

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่า พระพุทธศาสนาได้รับผลกระทบมากเพียงนี้แต่พระพุทธศาสนาในประเทศลาวกลับไม่ไม่สูญหายไปเหมือนกับอีกหลายประเทศที่ถูกปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ ในที่นี้จะนำเสนอสาเหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาอยู่ได้ในประเทศลาว ดังนี้

การให้โอกาสพระสงฆ์เผยแผ่ร่วมกับผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์

สาเหตุนี้ทำให้พระพุทธศาสนาฟื้นฟูขึ้นมาได้ก็เพราะบทบาทของพระเถระที่เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธทั้งหลายได้ทำหน้าที่ให้ธรรมแฝงไปกับหลักการของลัทธิคอมมิวนิสต์นั่นเอง จากปรากฏการณ์ที่ว่า ผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ใช้พระสงฆ์ลาวเป็นเครื่องมือเผยแผ่คำสอนลัทธิคอมมิวนิสต์ให้แก่เยาวชนลาวรุ่นใหม่เพื่อล้างสมองให้รับแนวคิดของคอมมิวนิสต์ที่กำลังมาแรงอยู่ในขณะนั้น กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ดีอย่างไม่คาดคิด จะเห็นได้ว่า ผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ไม่ได้ให้โอกาสแก่พระสงฆ์ในประเทศจีนมาเผยแผ่อุดมคติแบบคอมมิวนิสต์ร่วมด้วยกับผู้นำลัทธิจึงทำให้เยาวชนที่ถูกล้างสมองไม่ได้เห็นภาพของพระภิกษุ เพียงไม่นานศาสนาก็ถูกลบไปจากความทรงจำ เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาสูญสิ้นไปจากประเทศจีน เป็นการล้มล้างสถาบันสงฆ์อย่างสิ้นเชิง

แนวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ของมาร์กซ์ต้องการให้ทุกคนต้องเสมอภาคกัน สถาบันทางสังคม เช่น สถาบันศาสนาและพระมหากษัตริย์ เป็นสิ่งที่ขัดขวางอุดมการณ์ ทำให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่นับถือแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์นี้มองเห็นศาสนาและพระมหากษัตริย์เป็นตัวขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของการจัดการสังคมภายใต้แนวคิดนี้ ประเทศจีนแม้ว่า จะเป็นประเทศพระพุทธศาสนามาก่อนแต่บริบททางสังคมไม่เหมือนกับประเทศลาว อีกทั้งผู้นำแนวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ คือ เหมาเจอตุง ไม่ได้ใช้แนวทางที่คอมมิวนิสต์ในประเทศลาวใช้ คือ ให้พระภิกษุเป็นผู้เผยแพร่คำสอนจึงทำให้พระพุทธศาสนาในประเทศจีนนั้นหมดไป สถาบันสงฆ์ล้มอย่างไม่เหลือต้นตอ ในประเทศลาวแม้ว่า พระสงฆ์จะถูกบังคับให้นับถือแนวคิดนี้และเผยแผ่แนวคิดนี้ แต่ประชาชนชาวลาวที่เป็นผู้ใหญ่ได้ให้ความเคารพต่อพระสงฆ์ เชื่อฟังพระสงฆ์ สถาบันสงฆ์แม้จะไม่มี แต่ความเป็นพระสงฆ์ยังคงมี ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนาจึงดำรงอยู่คู่กับประชาชนชาวลาวได้อย่างกลมกลืนกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมา กล่าวคือ พระสงฆ์คือที่พึ่งพิงของชาวบ้าน ชาวบ้านคือที่พึ่งพิงของพระสงฆ์ ไม่ต้องผ่านสถาบันศาสนาใดๆ



พระพุทธศาสนาในประเทศลาว

ประเทศลาวถือเป็นประเทศพี่น้องกับไทย มีวัฒนธรรมที่ไม่แตกต่างกันนัก เนื่องจากเคยเป็นพี่น้องกันมาแต่โบราณ ที่อพยพมาจากจีน เมื่อตอนอยู่ในอาณาจักรอ้ายลาว เมื่อประมาณ พ.ศ. ๖๑๒ ก็ได้นับถือพุทธศาสนาแบบมหายานมาก่อน เมื่อถูกจีนรุกราน จึงได้อพยพมาอยู่ในเมืองล้านช้างประมาณ พ.ศ. ๑๒๙๐ ก็กลับมาเป็นนับถือผีสางเทวดาดังเดิมอีก ต่อมาเมื่อเจ้าสุวรรณคำผงขึ้นเสวยราชย์ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๕-๑๘๙๖ ทรงมีพระ โอรส ๖ พระองค์ ใน ๖ พระองค์นั้น เจ้าฟ้างุ้มมีลักษณะผิดแผกจากพระโอรสองค์อื่น คือมีฟันและลิ้นเป็นสีดำ โหรทำนายว่าเป็นกาลกินีจึงได้นำไปลอยแพ บังเอิญแพได้มาถึงเมืองขอม (กัมพุชา) ได้รับการเลี้ยงดูจากพระมหาปาสมันตเถระ ต่อมาได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในราชสำนักของพระเจ้าอินทปัตถ์ และได้อภิเษกสมรสกับพระธิดาของพระเจ้าอินทปัตถ์ พระนามว่า พระนางแก้วยอดฟ้า (ฟ้าหญิงคำหยาด) ต่อมาบิดาให้ไปตีเมืองล้านช้าง และสามารถยึดเมืองล้านช้างได้ในปี พ.ศ. ๑๘๙๖ แล้วขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒๓ ของราชวงศ์ล้านช้าง ทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณี แผ่อาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง พุทธศาสนาได้เข้ามาสู่อาณาจักรล้านช้างในยุคนี้ กล่าวคือพระนางแก้วยอดฟ้าพระมเหสีผู้ทรงเคยนับถือพุทธศาสนามาก่อน เมื่อครั้งอยู่ในเมืองขอมทรงเห็นประชาชนนับถือผีสางเทวดา และฆ่าสัตว์บูชาเซ่นสรวง จึงได้ทูลขอให้พระเจ้าฟ้างุ้มไปอัญเชิญพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ในอาณาจักรล้านชัาง พระเจ้าฟ้างุ้มทรงเห็นด้วย จึงให้ทูตไป ทูลขอนิมนต์พระสงฆ์เขมรเข้ามาเผยแผ่ในประเทศลาว และพระนางยังได้ขอร้องทางเขมรได้จัดส่งพระสงฆ์มาประกาศศาสนาแบบเถรวาท ซึ่งมีพระมหาปาสามานเจ้าเป็นประมุข เข้ามาเผยแผ่ในล้านช้าง

พระพุทธศาสนาจึงได้เผยแผ่มาสู่ประเทศลาว และได้รับการอุปถัมภ์อย่างดีจากพระเจ้าฟ้างุ้ม เนื่องจากพระเจ้าฟ้างุ้มเคยได้รับอุปการะจากพระมหาปาสามานเถระเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ด้วย พระมหาปาสามานเถระและคณะได้เดินทางออกจากเมืองกัมพูชา เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๒ ไปตามลำดับจนถึงเมืองแกพร้อมกับนำเอาพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ชื่อ พระบาง และพระไตรปิฎกไปด้วยเพื่อที่จะถวายแก่พระเจ้าฟ้างุ้ม เมื่อคณะสงฆ์เดินทางมาถึงเวียงจันทน์ เจ้าเมืองจันทน์ได้นิมนต์พักสมโภชพระบางอยู่ ๓ คืน ๓ วัน แล้วคณะสงฆ์ก็เดินทางต่อไปยังเวียงคำ อาราธนาพระเถระไปในเมือง ประชาชนได้มาสมโภชนพระบางกัน ๓ คืน ๓วัน ครั้นจะเดินทางต่างปรากฏว่าพระพุทธรูปไม่สามารถยกไปได้ จึงเสี่ยงทายว่าเทวดาอารักษ์คงปรารถนาจะให้พระบางอยู่ที่เวียงคำพระเถระและผู้ติดตาม ได้มีเดินทางไปยังเมืองเชียงทอง ครั้งถึงเชียงทอง ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าฟ้างุ้มและพระมเหสี พระเถระและคณะจึงได้เผยแผ่พุทธศาสนาในลาวจนเจริญรุ่งเรืองประดิษฐานมั่ นคงสืบมา

รัชสมัยของพระเจ้าฟ้างุ่มนั้นเต็มไปด้วยศึกสงคราม ทำให้ชาวลาวที่มีนิสัยรักสงบเกิดความเบื่อหน่าย จนในที่สุดพร้อมใจกันขับพระเจ้าฟ้างุ่มออกจากราชสมบัติ และอภิเษกพระราชโอรสทรงพระนามว่า “พญาสามแสนไท” ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน และพระองค์ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงแห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทำให้มีการจัดระเบียบบ้านเมืองตามแบบแผนวิธีการที่ได้รับจากประเทศไทยเป็นอันมาก ในด้านการพระพุทธศาสนา พญาสามแสนไท ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก เช่นทรงสร้างวัดมโนรมย์ วัดอุโบสถ หอสมุด โรงเรียนปริยัติธรรม เป็นต้น และทรงเจริญพระราชไตรีกับทางกรุงศรีอยุธยา ตลอดจนถึงกัมพูชา เวียดนาม ซึ่งถือได้ว่าในสมัยนี้เป็นสมัยแห่งการจัดสรรบ้านเมือง และการสร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่นอย่างมาก สมัยพระเจ้าวิชุลราชาธิปัต (พ.ศ. ๒๐๔๔-๒๐๖๓) บ้านเมืองอยู่ในภาวะสงบ กษัตริย์ทรงเอาใจใส่ทำนุบำรุงพุทธศาสนา ได้สร้างวัดวาอารามต่าง ๆ เช่น สร้างวัดบรมมหาราชวังเวียงทอง วัดวิชุลราช เพื่ออัญเชิญพระบางจากเวียงคำมาประดิษฐานที่วัดนี้ ต่อมาทรงสร้างวัดโพธิ์สบ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระราชธิดาที่ได้สวรรคตไป ในรัชสมัยพระเจ้าโพธิสารราช (พ.ศ. ๒๐๖๓-๒๐๙๐) พระองค์เป็นผู้เคร่งครัดทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้ทรงมีพระราชโองการให้พลเมืองเลิกนับถือผีสางเทวดา เลิกทรงเจ้าเข้าผีทั่วพระราชอาณาจักร ทรงให้รื้อศาลหลวง ศาลเจ้าผีเสื้อเมืองทรงเมือง และให้หันมานับถือพระพุทธศาสนาแทน ทรงสร้างวัดสุวรรณเทวโลกแต่เนื่องจากประเพณีการนับถือผีนั้นมีมานานมาก และได้ฝังเข้าไปในจิตใจของประชาชนทั่วไป จึงยากที่จะเลิกอย่างเด็ดขาดได้

ครั้นต่อมาทางอาณาจักรล้านนาว่างกษัตริย์ปกครอง จึงได้อัญเชิญเจ้าไชยเชษโฐหรือ เชษฐวังโส พระโอรสของพระเจ้าโพธิสาร ไปครองนครล้านนา เมื่อปีพ.ศ. ๒๐๘๙ พระเจ้าโพธิสารเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๐ ด้วยถูกช้างล้มทับขณะประพาสป่า ทรงกลับนครได้เพียง ๓ สัปดาห์ก็สวรรคต เมื่อสวรรคตแล้ว พระโอรสทั้งหลายต่างแย่งชิงราชสมบัติกัน อาณาจักรลาวได้แตกเป็น ๒ ฝ่าย คือ อาณาจักรฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้ พระเจ้าไชยเชษโฐแห่งล้านนา จึงยกทัพตีกรุงล้านช้าง และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดบุปผาราม เชียงใหม่ รวมทั้งพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงค์) และพระแก้วขาวไปด้วย เมื่อเสด็จถึงล้านช้าง ทรงยึดราชสมบัติจากเจ้าครองนครทั้งสองได้ ด้วยความเกรงกลัวของเจ้าครองนครทั้งสอง จึงทรงครองนครทั้งสองซึ่งเรียกว่า กรุงศรีสัตนาคตหุต พระองค์จึงขึ้นครองราชสมบัติ นับเป็นมหาราชองค์ที่ ๒ ของลาว ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระนามว่า “พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช” พระพุทธศาสนาในยุคของพระเจ้าเชษฐาธิราช นับว่ามีความเจริญสูงสุด ทรงได้สร้างวัดสำคัญมากมาย ในกำแพงเมืองมีวัดอยู่ประมาณ ๑๒๐ วัด และยังได้สร้างวัดพระแก้ว ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต ที่นำมาจากเมืองเชียงใหม่ ในสมัยนี้ได้มีการแต่งวรรณกรรมหลายเรื่อง เช่น สังสินชัย การเกต พระลักพระราม เป็นต้น สมัยนี้ราชอาณาจักรไทยได้มีความสัมพันธ์ลาวอย่างแน่นแฟ้น ได้ร่วมมือกันเพื่อต่อสู้กับพม่า ได้สร้างเจดีย์ “พระธาตุศรีสองรัก” ในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เพื่อเป็นอนุสรณ์ แห่งความเป็นพี่เป็นน้องกัน ของสองอาณาจักร

พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ทรงย้ายเมืองหลวงจากเมืองเชียงคำมาอยู่ที่เวียงจันทน์ ได้ประดิษฐานพระแก้วมรกต และพระแซกคำ (พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงค์) ไว้ที่เวียงจันทน์ เรียกว่าเวียงจันทน์ล้านช้างส่วนพระบางประดิษฐานไว้ที่เมืองเชียงทอง จึงได้ชื่อว่าหลวงพระบางมาจนถึงบัดนี้ บางครั้งก็เรียกชื่อว่าล้านช้างหลวงพระบาง และได้สร้างวัดเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตขึ้นเป็นพิเศษ พระองค์ได้ทรงสร้างพระธาตุหลวง ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นยอดเยี่ยมของลาวเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๙ ซึ่งต่อมาได้ถูกพวกปล้นจากยูนานทำลายเสียหายไปมาก นอกจากพระองค์จะได้ทรงสร้างพระธาตุ อื่น ๆ และพระพุทธรูปสำคัญ ๆ อีกมากมาย เช่น พระเจ้าองค์ตื้อ ที่เวียงจันทน์ พระเจ้าองค์ตื้อ ที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย พระเสริม พระสุก พระใส พระอินทร์แปลง พระองค์แสน ทรงสร้างวัดพระธาตุ ที่จังหวัดหนองคาย และพระธาตุที่จมน้ำโขงอยู่ พระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย สร้างวัดศรีเมือง จังหวัดหนองคาย และพระประธานในโบสถ์ นามว่า พระไชยเชษฐา พระศรีโคตรบูร ที่แขวงคำม่วน พระธาตุอิรัง ที่แขวงสุวรรณเขต (สุวรรณเขต) พระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และทรงปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม เป็นต้น

พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงประคับประคองนำราชอาณาจักรล้านช้างผ่านพ้นภัยการเป็นเมืองขึ้นของพม่าไปได้ ตลอดรัชสมัยของพระองค์ แม้ว่าในขณะนั้นอาณาจักรล้านนา (เสียแก่พม่า พ.ศ. ๒๑๐๑) และอาณาจักรศรีอยุธยา (เสียแก่พม่า พ.ศ. ๒๑๐๗) ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าแล้ว แต่หลังจากพระองค์สวรรคตในปี พ.ศ. ๒๑๑๔ พอมาถึง พ.ศ. ๒๑๑๗-๒๑๑๘ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้ยกทัพมาตีลาวและได้รับชัยชนะ และทรงนำโอรสองค์เดียวของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชซึ่งประสูติในปีที่สวรรคต ไว้เป็นประกันที่หงสาวดีด้วย ต่อจากนั้นมาหลายปีแผ่นดินลาวก็วุ่นวายด้วยเรื่องราชสมบัติ จนพ.ศ. ๒๑๓๔ พระเถระเจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ จึงได้ประชุมกันลงมติให้ส่งทูตไปเชิญเจ้าชายหน่อแก้วโกเมน ซึ่งเป็นตัวประกันอยู่ประเทศพม่ากลับมาครองราชย์ และในเวลานั้นพระเจ้าบุเรงนองสวรรคตลง พม่าเริ่มอ่อนแอลง และเจ้าหน่อแก้วโกเมนขึ้นครองราชย์สมบัติ พ.ศ. ๒๑๓๕ และประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่าต่อไป

พระเจ้าสุริยวงศาเป็นกษัตริย์ที่มีความปรีชาสามารถ และเข้มแข็ง สามารถปกครองให้ลาวสงบเรียบร้อยได้ ในสมัยนี้วัฒนธรรมรุ่งเรือง ศิลปกรรม ดนตรี ประติมากรรมต่าง ๆ เจริญแพร่หลาย หลังจากสิ้นราชกาลพระเจ้าสุริยวงศา ใน พ.ศ. ๒๒๓๕ อาณาจักรลาวได้แตกเป็น ๒ อาณาจักร คือ เมืองหลวงพระบาง กับ เมืองเวียงจันทน์ ทั้ง ๒ อาณาจักร ต่างระแวงกัน และคอยหาโอกาสแย่งชิงอำนาจกัน จนถึงกับไปผูกมิตรกับต่างประเทศเพื่อกำจัดกันและกัน เช่น ฝ่ายหนึ่งเข้ากับพม่า ฝ่ายหนึ่งเข้ากับไทย หรือฝ่ายหนึ่งเข้ากับไทย ฝ่ายหนึ่งเข้ากับญวน เป็นต้น จนในที่สุดเมื่อไทยสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งเป็นมิตรกับหลวงพระบางกู้เอกราชจากพม่าได้แล้ว ก็ยกทัพมาตีเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นพันธมิตรของพม่า เข้ายึดครองได้ในพ.ศ.๒๓๒๑และได้นำเอาพระแก้วมรกตไปยังอาณาจักรไทยด้วย อาณาจักรเวียงจันทน์ได้สลายตัวลงเป็นดินแดนของไทยใน พ.ศ. ๒๓๗๑ ส่วนอาณาจักรหลวงพระบางซึ่งเป็นเมืองออกของไทยได้ส่งทูตไปอ่อนน้อม และมอบบรรณาการแก่เวียดนาม พ.ศ. ๒๓๗๔ กลายเป็นข้ออ้างของฝรั่งเศส ผู้เข้ายึดครองเวียดนามในสมัยต่อมา ที่จะเข้าครอบครองลาวต่อไปด้วย อาณาจักรลาวได้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสโดยลำดับ เริ่มแต่ พ.ศ. ๒๔๓๖ จนหมดสิ้นใน พ.ศ. ๒๔๔๗ ลาวถูกฝรั่งเศสครอบครองอยู่ ๔๕ ปี จึงได้เอกราชกลับคืนโดยสมบูรณ์ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๙๒ มีชื่อเป็นทางการว่า “พระราชอาณาจักรลาว”



อิทธิพลของพุทธศาสนาต่อประเทศลาว

๑. ด้านสังคม

พระพุทธศาสนาได้ก่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่นในสังคมชาวลาว พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรมประเพณี ความคิด ความเชื่อของประชาชนลาว พิธีกรรมและวันสำคัญต่าง ๆ เช่น ประเพณีทำบุญธาตุหลวง เป็นประเพณีประจำชาติที่เชิดหน้าชูตาของประเทศลาว ด้านศิลปวัฒนธรรม ได้เกิดมีศิลปกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนามากมาย ล้วนมีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปกรรมเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นพระพุทธศาสนายังมีบทบาทในการสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนในด้านต่าง ๆ เช่นในชุมชนต่าง ๆ พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของชุมชนในด้านให้คำปรึกษา ช่วยเหลือด้านการสงเคราะห์ปัจจัยสี่แก่ประชาชน วัดได้เป็นศูนย์กลางการพบปะของชาวบ้านและทางราชการ เป็นต้น

๒. ด้านการเมือง

พระพุทธศาสนามีความเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างแยกไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศใด พุทธศาสนาในประเทศลาวนั้น เมื่อเสื่อมโทรมก็เนื่องจากได้รับการบีบคั้น ทำลายจากทางการเมือง เช่นในคราวที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการเมืองประเทศลาว ได้ทำการปฏิวัติใหม่ ได้ทำลายล้างสถาบันสำคัญของประเทศ ได้แก่สถาบันศาสนา และสถาบันกษัตริย์ มีพระสงฆ์ถูกฆ่าตายจำนวนมากมาย บางส่วนต้องลาสิกขาออกมาเพื่อเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ และเมื่อพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ก็ได้รับการสนับสนุนจากทางการเมืองเช่นเดียวกัน ทั้งที่ปรากฏในอดีตและปัจจุบัน บทบาทของพุทธศาสนาในยุคคอมมิวนิสต์ครอบครอง ได้แก่การเอาพระสงฆ์เป็นเครื่องมือทางการเมือง เนื่องจากพระสงฆ์เป็นผู้ที่ประชาชนให้ความเคารพเชื่อถือ โดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขณะนั้นได้ให้พระสงฆ์เผยแผ่แนวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ไปในขณะเทศบรรยาย ไดัจัดให้มีการปาฐกถาในที่ต่าง ๆ โดยมีพระสงฆ์ร่วมอยู่ด้วยในการเผยแผ่แนวคิดคอมมิวนิสต์นั้น ถูกบังคับให้ประยุกต์คำสอนทางพุทธศาสนาเข้ากับคำสอนของคอมมิวนิสต์ พระสงฆ์หลายรูปจำเป็นต้องทำตาม บางรูปขัดขืนก็จะถูกฆ่าตายอย่างโหดเหี้ยม ในปัจจุบันนี้ บ้านเมืองอยู่ในภาวะสงบ พระพุทธศาสนาก็ได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐเป็นอย่างดี มีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาของสงฆ์ขึ้น เป็นวิทยาลัยสงฆ์ เช่นวิทยาลัยสงฆ์ประจำกรุงเวียงจันทน์ เป็นต้น

๓. ด้านเศรษฐกิจ

อิทธิพลพุทธศาสนาด้านเศรษฐกิจนั้น ด้านหลักธรรมที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ได้แก่ความขยัน ประหยัด อดออมนั้น ดูจะไม่แตกต่างจากประเทศไทยนัก เพราะเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมประเพณีไม่แตกต่างกันนัก แต่ลักษณะของประเทศลาวปัจจุบันอยู่ในฐานะประเทศปิด ระบบเศรษฐกิจจึงเป็นการพึ่งพาตัวเองมากกว่าการพึ่งพาจากต่างประเทศ เศรษฐกิจส่วนใหญ่เป็นระบบเกษตรกรรม



ภาษาประจำชาติของประเทศลาว และการนับเลข

ภาษาประจำชาติของประเทศลาว คือ ภาษาลาว โดยใช้ตัวอักษรลาวที่มีพัฒนาการมาจากอักษรไทน้อยหรือลาวโบราณซึ่งประกอบด้วยพยัญชนะ ๓๓ รูป ๒๑ เสียง และสระ ๒๘ รูป ๒๗ เสียง ระบบการเขียนในภาษาลาวจะเริ่มเขียนจากซ้ายไปขวา ไม่ค่อยมีความซับซ้อน จึงทำให้เข้าใจได้ง่าย แม้ว่าภาษาลาวจะเป็นภาษาประจำชาติ แต่ก็มีการใช้ภาษาไทย อังกฤษ และฝรั่งเศสกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงการประกอบธุรกิจการค้าและนอกจากภาษาที่ใช้แล้วยังมีการนับเลข การนับเลขของประเทศลาวจะมีการนับเหมือนประเทศไทย แต่จำนวน ๒๐ ของประเทศลาวจะอ่านออกเสียงว่า ซาว ซึ่งเหมือนกับภาษาถิ่นเหนือของประเทศไทย และตัวเลขหนึ่งพันล้านจะอ่านออกเสียงว่า ตื้อ ซึ่งหมายความว่าพันล้าน



การนับถือศาสนาของชาวลาว

ชาวลาวประมาณร้อยละ ๗๕ ของประชากรลาวทั้งหมดในประเทศจะมีการนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติลาว และมีส่วนน้อยแถบภูเขาสูงประมาณร้อยละ ๑๖-๑๗ ที่นับถือผี ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมตามแต่ละท้องถิ่น ส่วนที่เหลือจะมีการนับถือศาสนาคริสต์และอิสลาม ถึงแม้รัฐบาลลาวจะให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่พุทธศาสนาแบบเถรวาทซึ่งเป็นศาสนาที่ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือกันก็เป็นเสมือนแบบแผนแห่งวัฒนธรรมลาว ทั้งในด้านภาษา ศิลปะ วรรณคดี รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน





สถาปัตยกรรมในประเทศลาว

สถาปัตยกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกับศาสนาอีกด้วย สถาปัตยกรรมของประเทศลาวจะสะท้อนถึงประวัติศาสตร์จากการตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และมีการผสมผสานกับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของประเทศไทยและเขมร สถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนา คือ พระธาตุหลวง เป็นศาสนสนสถานที่สำคัญและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวลาวซึ่งตั้งอยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์ ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติดังปรากฏเป็นภาพประธานในตราแผ่นดินสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าฐาธิราช เป็นเจดีย์ที่โดดเด่นที่สุดในล้านช้างซึ่งเรียกอีกชื่อหนี่งว่า เจดีย์โลกะจุฬามณี องค์พระธาตุสูง ๔๕ เมตร ลักษณะคล้ายดอกบัวตูม อันหมายถึงสัญลักษณ์แห่งคำสอนของพระพุทธเจ้า





สถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศส คือ หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสามเสนไทย แขวงเวียงจันทน์ ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล ใช้เป็นสถานที่จัดงานด้านศิลปะการแสดงและงานสำคัญของทางการลาว

วรรณคดีของประเทศลาวที่สำคัญ คือ พระรามชาดก เป็นวรรณคดีลาวซึ่งมีการแต่งแบบ หนังสือเทศน์ เมื่อราว พ.ศ. ๒๓๙๓ ( ตรงกับรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ) โครงเรื่องหลักตรงกับ รามเกียรติ์ ส่วนรายละเอียดก็มีผิดเพี้ยนไปบ้างตามผู้แต่งสร้างสรรค์ขึ้นเองจากจินตนาการ เรื่องเล่า หรือนิทานท้องถิ่น ซึ่งทำได้อย่างกลมกลืน โดยได้รับจากฉากในอินเดียใต้ให้เป็นท้องถิ่นลาว ชื่อตัวละครจนถึงภูมิประเทศ แทนที่จะเป็นชมพูทวีป ( อินเดีย ) ก็กลายมาเป็นของสองฝั่งโขงแทน



ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ประเทศลาว

ลาวเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพรมแดนติดจีนและพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก ประเทศลาวมีประชากรรวม ๖,๐๖๘,๑๑๗ คน ประกอบด้วยชนชาติต่างๆ หลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งในภาษาลาวจะเรียกรวมกันว่า “ประชาชนบรรดาเผ่า” สามารถจำแนกได้เป็น ๖๘ ชนเผ่าโดยประมาณ แบ่งเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ตามถิ่นที่อยู่อาศัย ดังนี้

๑. ลาวลุ่ม หมายถึง ชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบ ส่วนใหญ่ได้แก่คนเชื้อชาติลาว ภูไท ไทดำ ไทลื้อ ฯลฯ ใช้ภาษาลาวหรือภาษาตระกูลภาษาไทเป็นภาษาหลัก ประชาชนกลุ่มนี้มีอยู่ร้อยละ ๖๘ ของจำนวนประชากรทั้งหมดและอาศัยกระจายอยู่ทั่วประเทศ ถือว่าเป็นกลุ่มชาวลาวที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ

๒. ลาวเทิง หมายถึง ชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูง เช่น ชาวบรู มะกอง งวน ตะโอย ตาเลียง ละเม็ด ละเวน กะตัง ฯลฯ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เช่น แขวงจำปาสัก แขวงเซกอง แขวงอัตตะปือ คิดเป็นร้อยละ ๒๒ ของจำนวนประชากรทั้งหมด

๓. ลาวสูง หมายถึง ชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูง เช่น ชาวม้ง เย้า มูเซอ ผู้น้อย และชาวเขาเผ่าต่างๆ ส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของลาว เช่น แขวงหลวงพระบาง แขวงเชียงขวาง และตามแนวตะเข็บชายแดนภาคเหนือ ชาวลาวกลุ่มนี้คิดเป็นจำนวนร้อยละ ๙ ของจำนวนประชากรทั้งหมด

ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนา ประจำชาติ (ร้อยละ ๖๐ ของชาวลาวทั้งหมด) ควบคู่ไปกับลัทธินับถือ ผีบรรพบุรุษของชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง ส่วนชาวลาวที่นับถือศาสนา คริสต์และศาสนาอิสลามมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อยมาก โดยศาสนาคริสต์ส่วน มากจะมีผู้นับถือเป็นกลุ่มชาวเวียดนามอพยพและชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ส่วนศาสนาอิสลามพบว่ามีการนับถือในหมู่ชนชาติส่วนน้อย โดยเป็นกลุ่มจีนฮ่อ ที่อาศัยตามชายแดนด้านติดกับประเทศพม่า และมีชุมชนมุสลิมที่มีเชื้อสาย เอเชียใต้ และจาม ในเวียงจันทน์

ด้านวัฒนธรรม มีความคล้ายคลึงกับคนภาคอีสานของไทยเป็นอย่างมาก ยังมีคำกล่าว ที่ว่า “มีลาวอยู่แห่งใด มีมัดหมี่แลลายจกอยู่ที่นั้น” ลาวมีประเพณีทาง พระพุทธศาสนาและอื่นๆ เช่น วันมาฆบูชา วันสงกรานต์ วันออกพรรษา บุญเข้าประดับดิน บุญเข้าฉลาก บุญส่วงเฮือ (แข่งเรือ) บุญธาตุหลวง เวียงจันทน์ ในเดือน ๑๒ เป็นต้น พุทธศาสนาแบบเถรวาท นับเป็นแบบแผนหลักของวัฒนธรรมลาว ซึ่งปรากฏให้เห็นทั่วประเทศ ทั้งในด้านภาษา และศิลปะ วรรณคดี ศิลปะการแสดง ฯลฯ

สำหรับดนตรีลาวนั้นมี "แคน" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ วงดนตรีของลาวก็คือ วงหมอลำ มีหมอลำ และหมอแคน ท่วงทำนองของการขับลำจะแตกต่างกันไป ตามท้องถิ่น และมีรำ วงบัดสลบ (Paslop Dance) ซึ่งเป็นการเต้น ท่าตามจังหวะเพลง โดยจะเต้นพร้อม กันไปอย่างเป็นระเบียบ ถือเป็นการร่วมสนุกกันของชาวลาวใน งานมงคลต่างๆ



รำวงบัดสลบ



วัฒนธรรมของลาวจะมีความคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมทางภาคอีสานของไทยมาก ในด้านดนตรีแคน ถือเป็นเครื่องดนตรีประจาชาติ โดยมีวงดนตรีคือ วงหมอลา และมี ราวงบัดสลบ (Budsiob) ซึ่งเป็นการเต้นที่มีท่าตามจังหวะเพลง โดยจะเต้นพร้อมกันไปอย่างเป็นระเบียบ ถือเป็นการร่วมสนุกกันของชาวลาวในงานมงคลต่างๆ



การตักบาตรข้าวเหนียว



ถือเป็นจุดเด่นของเมืองหลวงพระบาง ซึ่งโดยปกติแล้วนิยมใส่บาตรด้วยข้าวเหนียวเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อถึงเวลาฉัน ชาวบ้านจะยกสารับกับข้าวไปถวายที่วัด เรียกว่า “ถวายจังหัน” โดยเวลาใส่บาตรจะนั่งคุกเข่าและผู้หญิงต้องนุ่งซิ่น ส่วนผู้ชายนุ่งกางเกงขายาว และมีผ้าพาดไหล่ไว้สาหรับเป็นผ้ากราบพระเหมือนกัน

วิถียามเช้าของชาวหลวงพระบางที่ยังคงงดงามมีเอกลักษณ์และเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ก็เห็นจะไม่มีอะไรเกิน “การตักบาตรข้าวเหนียว” ที่ในทุกๆเช้าของแต่ละวัน ชาวหลวงพระบางผู้แนบแน่นในพระพุทธศาสนาจะตื่นขึ้นมาแต่เช้าเพื่อเตรียมข้าวของไว้สาหรับตักบาตรข้าวเหนียว

หลังจากนั้นพอฟ้าเริ่มสาง เสียงตุ๊มๆๆ..ของ “กะลอ” (เครื่องเคาะของลาวมีลักษณะคล้ายกลอง) ดังขึ้นจากหลายๆวัด บรรดาญาติโยมต่างก็จะหอบหิ้วข้าวของมานั่งอย่างสงบรอพระออกบิณฑบาต ซึ่งหากเป็นวันพระจะมีเหล่าฆราวาสมารอตักบาตรข้าวเหนียวเป็นจานวนมาก แต่หากเป็นวันปกติก็จะมีอยู่พอประมาณ

พอสิ้นเสียงกะลอได้ไม่นาน เหล่าพระสงฆ์นับร้อยรูปก็จะเดินเรียงแถวยาวเหยียดมาให้ญาติโยมได้ใส่บาตรกัน จนถ้วนทั่ว ภาพเหล่านี้คือวิถีปกติของชาวหลวงพระบาง แต่สาหรับนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ การตักบาตรข้าวเหนียวคือภาพอันชวนตื่นตาตื่นใจ เป็นไฮไลท์ของการท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง ด้วยเหตุนี้เมื่อ “อุปสงค์” การตักบาตรข้าวเหนียวของนักท่องเที่ยวมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทาให้ชาวลาวหลายๆ คนปิ๊งไอเดียนาข้าวเหนียวใส่กะติ๊บออกมาเร่ขายให้นักท่องเที่ยวเพื่อใช้ในการตักบาตรข้าวเหนียว

การตักบาตรข้าวเหนียวของหลวงพระบางยุคใหม่ในวันนี้ จึงมีการผสมผสานกันระหว่าง ภาพพระ-เณรที่ออกบิณฑบาตเป็นแถวยาวเหยียด ภาพญาติโยมชาวหลวงพระบางในชุดพื้นเมืองนั่งใส่บาตรอย่างนอบน้อมแต่ว่องไวในการจกข้าวเหนียวลงบาตร ภาพนักท่องเที่ยวร่วมตักบาตรข้าวเหนียวด้วยความศรัทธาผสมความตื่นเต้นและอยากลอง ภาพนักท่องเที่ยวมาตั้งกล้องรอบันทึกภาพตักบาตรข้าวเหนียว และภาพแม่ค้าหาบกะติ๊บข้าวเหนียวเร่ขายให้กับนักท่องเที่ยวที่นับวันยิ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ



ประเพณีประเทศลาว

งานประเพณีต่างๆของชาวลาว นอกจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และภาษาที่ไทย – ลาวมีความคล้ายคลึงกันแล้ว งานประเพณีต่างๆตลอดปีของลาวก็ดูไม่ต่างจากชาวไทยในภาคอีสานนัก เกือบทั้งหมดเป็นงานประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา เรียกกันว่า ฮีตสิบสอง

ฮีต หมายถึง จารีต

สิบสอง หมายถึง เดือนทั้ง ๑๒ เดือนในรอบหนึ่งปี

ชาวหลวงพระบางมีงานประเพณีครบทั้งสิบสองเดือนในหนึ่งปี

เดือนอ้าย : บุญเข้ากรรม

ช่วงที่จัด : เดือนธันวาคม ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาว

ลักษณะงาน : จุดประสงค์ของงานนี้เพื่อให้พระภิกษุ เข้าพิธีกรรมปลงอาบัติด้วยการอยู่ในเขตที่จำกัด เพื่อชำระจิตใจให้สะอาด

เดือนยี่ : บุญคูณลาน

ช่วงที่จัด : หลังฤดูเก็บเกี่ยว

ลักษณะงาน : ก่อนที่จะนำข้าวที่นวดแล้วไปเก็บในยุ้งข้าว จะมีการทำบุญขวัญข้าว มีการนิมนต์พระภิกษุมาสวดเป็นสิริมงคล และเป็นนิมิตรหมายที่ดีให้ปีต่อๆไปทำนาเกิดผลดียิ่งๆขึ้น

เดือนสาม : บุญข้าวจี่

ช่วงที่จัด : หลังงานมาฆะบูชา

ลักษณะงาน : ชาวนาจะนำข้าวจี่หรือข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว ปั้นเป็นก้อนเท่าไข่เป็ดทาเกลือ นำไปเสียบไม้ย่าง จากนั้นตีไข่ทาให้ทั่วแล้วย่างจนไข่สุกและถอดไม่เสียบออกนำน้ำตาลอ้อยยัดลง ตรงกลางเป็นไส้ นำถวายพระสงฆ์ในช่วงที่หมดฤดูทำนาแล้ว เพื่อเป็นการทำบุญ

เดือนสี่ : บุญพระเวส

ช่วงที่จัด : เดือนสี่ข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้

ลักษณะงาน : งานบุญพระเวสหรืองานบุญมหาชาติ เช่นเดียวกับงานฟังเทศพระเวสสันดรชาดก อันเป็นชาดกที่ยิ่งใหญ่ ชาวบ้านจะช่วยกันตกแต่งประดับประดาโรงธรรมด้วยดอกไม้ ใช้ดอกบัวประดับธรรมมาสน์ มีการจัดรูปขบวนแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีออกจากป่าเข้าในเมืองไปสิ้นสุดที่ พระอุโบสถ มีการเทศน์มหาเวสสันดรตลอดวัน

เดือนห้า : บุญสงกรานต์

ช่วงที่จัด : ตรุษสงกรานต์

ลักษณะงาน : นับเป็นงานที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากที่สุดและยังถือเป็นวันปี ใหม่ของลาวเช่นเดียวกับของไทย

วันแรกของงานเรียกว่า “วันสงขารล่อง” ชาวหลวงพระบางจะไปจับจ่ายซื้อของและธงรูปพระพุทธเจ้า เพื่อไปปักกองเจดีย์ทรายริมแม่น้ำโขง ตกเย็นมีการลอยกระทง ภายในกระทงบรรจุกล้วย ขิง ข้าวดำ ข้าวแดง ดอกไม้ ใบพลู ธูป เทียน ดอกดาวเรือง ผมและเล็บของผู้ลอย อธิษฐานให้ทุกข์โศกโรคภัยลอยไปกับกระทง

วันที่สอง เรียกว่า “วันเนา” ช่วงเช้ามีการแห่รูปหุ่นเชิดปู่เยอย่าเยอและสิงห์แก้ว สิงห์คำ ช่วงบ่ายขบวนแห่ซึ่งนำโดยปู่เยอย่าเยอ ผู้เฒ่าผู้แก่ หัวหน้าหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน ขบวนพระสงฆ์ นางสงกรานต์ (นางวอ) ขี่สัตว์พาหนะบนรถแห่ ปู่เยอย่าเยอก็จะฟ้อนรำ อวยพระให้ลูกหลาน

วันที่สาม เรียกว่า “วันสังขารขึ้น” ชาวหลวงพระบางทำข้าวเหนียวนึ่งและนมลูกกวาด พากันเดินขึ้นภูษี ภูเขาสูงกลางเมืองหลวงพระบาง ระหว่างเดินจะวางข้าวเหนียวและขนมไว้ตามหัวเสาบันไดจนถึงองค์พระธาตุ วิธีการนี้เรียกว่าเป็นการตักบาตรภูษี มีการโยนข้าวเหนียวลงป่าข้างองค์พระธาตุเป็นการให้ทาน ช่วงบ่ายมีขบวนแห่นางสังขารและอัญเชิญศีรษะท้าวกบิลพรหมจากวัดเชียงทองไปยัง วัดวิชุน มีการสรงน้ำพระที่วัดวิชุน

วันที่สี่ นับเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งมีการแห่พระบาง พระพุทธรูปคู่เมืองหลวงพระบาง ปีหนึ่งจะอัญเชิญออกมาให้ชาวเมืองสรงน้ำ พระบางนี้จะประดิษฐานอยู่ที่วัดใหม่เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน จากนั้นจะอัญเชิญกลับหอพิพิธภัณฑ์เหมือนเดิม

เดือนหก : บุญบั้งไฟ

ช่วงที่จัด : เดือนหกก่อนฤดูกาลทำนามาถึง ย่างเข้าฤดูฝน

ลักษณะงาน : คล้ายกับงานบุญบั้งไฟของภาคอีสาน จุดประสงค์เพื่อบูชาหลักเมือง และขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ปีใดที่ไม่มีการทำบุญบั้งไฟเชื่อว่าปีนั้นจะเกิดเภทภัยต่างๆ และเป็นสัญญาณว่าฤดูการทำนาจะเริ่มต้นแล้ว นับเป็นงานที่กระทำกันมาแต่โบราณ

เดือนเจ็ด : บุญซำฮะ

ช่วงที่จัด : เดือนเจ็ด

ลักษณะงาน : งานเล็กๆ แต่สำคัญ จุดประสงค์เพื่อเป็นการชำระล้างเสนียดจัญไร ที่จะเกิดกับบ้านเมือง เพื่อให้บ้านเมืองมีความสงบสุข

เดือนแปด : บุญเข้าพรรษา

ช่วงที่จัด : วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

ลักษณะงาน : เป็นการเริ่มต้นฤดูเข้าพรรษาเหมือนชาวไทย พระสงฆ์จะหยุดออกบิณฑบาตรเป็นเวลา ๓ เดือนตามพุทธบัญญัติ นับแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นไปในวันแรกนี้จะมีการทำบุญกันที่วัดต่างๆ

เดือนเก้า : บุญห่อข้าวประดับดิน การส่วงเฮือ และการล่องเฮือไฟ

ช่วงที่จัด : เดือนเก้า

ลักษณะงาน : บุญห่อข้าวประดับดิน เป็นการทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้กับวิญาณบรรพบุรุษ และ

วิญญาณไร้ญาติให้ออกมารับส่วนบุญ ชาวบ้านจะนำอาหารหวานคาว บุหรี่ หมาก พลู ใส่ลงในกรวยใบตองไปวางตามพื้นดินหรือใต้ต้นไม้บริเวณรั้วบ้าน รั้ววัด

การส่วงเฮือ

ส่วง หมายถึง แข่งขัน

เฮือ หมายถึง เรือ

เป็นงานบุญแข่งเรือประจำเดือนเก้า ทุกคุ้ม (หมู่บ้าน) จะนำเรือเข้าแข่งขัน ในอดีตการแข่งเรือถือเป็นการฝึกซ้อมฝีพายเพื่อต่อสู้ข้าศึกที่มาทางน้ำ ปัจจุบันนับเป็นงานบุญที่สนุกสนานงานหนึ่งของชาวหลวงพระบาง

เดือนสิบ : บุญข้าวสาก

ช่วงที่จัด : วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐

ลักษณะงาน : จุดประสงค์ของการจัดงานเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้คนตายหรือเปรต ห่างจากงานวันบุญข้าวประดับดิน ๑๕ วัน อันเป็นเวลาที่เปรตต้องกับไปยังที่อยู่ของตน

เดือนสิบเอ็ด : บุญออกพรรษา

ช่วงที่จัด : วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑

ลักษณะงาน : เป็นงานตักบาตรเทโว มีการจัดอาหารไปถวายพระภิกษุสามเณร มีการกวนข้าวทิพย์ (กระยาสารท) ถวาย มีการถวายผ้าจำนำพรรษาและปราสาทผึ้ง โดยการนำไม้ไผ่มาสานเป็นรูปปราสาท ตกแต่งสวยงาม จัดขบวนแห่ปราสาทผึ้งไปถวายพระในตอนค่ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ

เดือนสิบสอง : บุญกฐิน

ช่วงที่จัด : แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ – เดือนเพ็ญ เดือน ๑๒

ลักษณะงาน : เป็นการถวายผ้าแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษามาตลอดช่วงเข้าพรรษา นับเป็นงานบุญที่กระทำกันมาแต่โบราณ









วิถีชีวิตการดำรงอยู่ของชาวลาว

ประเทศลาวมีประชากรอยู่ประมาณ ๖.๔ ล้านคนซึ่งประกอบด้วยชนชาติต่างๆที่มีมากถึง ๖๘ ชาติพันธุ์ ซึ่งแต่ละชาติพันธุ์จะมีภาษาพูดและวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกันไปบ้างบางส่วน แต่ก็มีการใช้ภาษาลาวเป็นภาษากลาง ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่มใหญ่ๆตามถิ่นที่อยู่อาศัย ดังนี้

๑. ลาวลุ่ม หมายถึง ชนชาติลาวที่อาศัยอยู่ที่ราบลุ่ม ได้แก่ ภูไท ไทเหนือ ไทดำ ไทขาว ไทแดง ไทพวน ไทลื้อ ฯลฯ โดยมีประมาณร้อยละ ๖๘ ของประชากรทั้งหมด ลาวลุ่มส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ และมีการใช้ภาษาลาวหรือภาษาตระกูลไท โดยส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำนา ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ และจะอาศัยกระจายอยู่ทั่วประเทศ

๒. ลาวเทิง หมายถึง ชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูงประกอบด้วย ขมุ ข่า แจะ ละแนด สีดา ผู้เทิงไฟ เขลา ปันลุ แซ กะแสง ส่วย ตะโอย ละแว ละเวน อาลัก กะตาง เทิงน้ำ เทิงบก เทิงโคก อินทรี ยาเหียน กายัก ชะนุ ตาเลี่ยง ละแง ฯลฯ โดยมีประมาณร้อยละ ๒๒ ของประชากรลาวทั้งหมด โดยมีการใช้ภาษาตระกูลมอญ-เขมร และโดยส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำไร่และเลี้ยงสัตว์ และมีประชากรอาศัยอยู่ทางใต้ของประเทศ

๓. ลาวสูง หมายถึง ชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูง ประกอบด้วยชนเผ่าม้งและอื่นๆ เช่น ม้งลาย ม้งขาว ม้งดำ เย้า โซโล ฮ้อ รุนี มูเซอ ผู้น้อย กุย ก่อ แลนแตน ฯลฯ โดยมีประมาณร้อยละ ๙ ของประชากรลาวทั้งประเทศ และมีการใช้ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต และส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำไร่ หาของป่าและเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสุกรและม้า และจะมีการอาศัยอยู่ในเขตของภาคเหนือของประเทศ

นอกจากนี้ยังมีชาวลาวเชื้อสายเวียดนามและเชื้อสายจีน รวมทั้งชาวต่างชาติอื่นๆที่อาศัยอยู่ในประเทศลาวอีกประมาณร้อยละ ๔ ของประชากรทั้งหมดในประเทศ



ชุดประจำชาติลาว

ผู้หญิงลาวนุ่งผ้าซิ่น และใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากล หรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย







อาหารประจำชาติลาว

ซุบไก่ (Chicken Soup) เป็นหนึ่งในอาหารพื้นเมืองของประเทศลาว มีส่วนผสมในการประกอบอาหาร คือ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม และหอมแดง ทั้งนี้ อาหารลาวโดยส่วนใหญ่มักจะมีผักและสมุนไพรเป็นส่วนผสมในการปรุง





ดอกไม้ประจำชาติลาว



บทสรุป

จุดเปลี่ยนระหว่างพุทธศาสนาในจีนกับลาวประเด็นที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่า พระพุทธศาสนาได้รับผลกระทบมากเพียงนี้แต่พระพุทธศาสนาในประเทศลาวกลับไม่ไม่สูญหายไปเหมือนกับอีกหลายประเทศที่ถูกปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ ในที่นี้จะนำเสนอสาเหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาอยู่ได้ในประเทศลาว ดังนี้

การให้โอกาสพระสงฆ์เผยแผ่ร่วมกับผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ สาเหตุนี้ทำให้พระพุทธศาสนาฟื้นฟูขึ้นมาได้ก็เพราะบทบาทของพระเถระที่เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธทั้งหลายได้ทำหน้าที่ให้ธรรมแฝงไปกับหลักการของลัทธิคอมมิวนิสต์นั่นเอง จากปรากฏการณ์ที่ว่า ผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ใช้พระสงฆ์ลาวเป็นเครื่องมือเผยแผ่คำสอนลัทธิคอมมิวนิสต์ให้แก่เยาวชนลาวรุ่นใหม่เพื่อล้างสมองให้รับแนวคิดของคอมมิวนิสต์ที่กำลังมาแรงอยู่ในขณะนั้น กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ดีอย่างไม่คาดคิด จะเห็นได้ว่า ผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ไม่ได้ให้โอกาสแก่พระสงฆ์ในประเทศจีนมาเผยแผ่อุดมคติแบบคอมมิวนิสต์ร่วมด้วยกับผู้นำลัทธิจึงทำให้เยาวชนที่ถูกล้างสมองไม่ได้เห็นภาพของพระภิกษุ เพียงไม่นานศาสนาก็ถูกลบไปจากความทรงจำ เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาสูญสิ้นไปจากประเทศจีน เป็นการล้มล้างสถาบันสงฆ์อย่างสิ้นเชิง

แนวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ของมาร์กซ์ต้องการให้ทุกคนต้องเสมอภาคกัน สถาบันทางสังคม เช่น สถาบันศาสนาและพระมหากษัตริย์ เป็นสิ่งที่ขัดขวางอุดมการณ์ ทำให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่นับถือแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์นี้มองเห็นศาสนาและพระมหากษัตริย์เป็นตัวขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของการจัดการสังคมภายใต้แนวคิดนี้ ประเทศจีนแม้ว่า จะเป็นประเทศพระพุทธศาสนามาก่อนแต่บริบททางสังคมไม่เหมือนกับประเทศลาว อีกทั้งผู้นำแนวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ คือ เหมาเจอตุง ไม่ได้ใช้แนวทางที่คอมมิวนิสต์ในประเทศลาวใช้ คือ ให้พระภิกษุเป็นผู้เผยแพร่คำสอนจึงทำให้พระพุทธศาสนาในประเทศจีนนั้นหมดไป สถาบันสงฆ์ล้มอย่างไม่เหลือต้นตอ ในประเทศลาวแม้ว่า พระสงฆ์จะถูกบังคับให้นับถือแนวคิดนี้และเผยแผ่แนวคิดนี้ แต่ประชาชนชาวลาวที่เป็นผู้ใหญ่ได้ให้ความเคารพต่อพระสงฆ์ เชื่อฟังพระสงฆ์ สถาบันสงฆ์แม้จะไม่มี แต่ความเป็นพระสงฆ์ยังคงมี ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนาจึงดำรงอยู่คู่กับประชาชนชาวลาวได้อย่างกลมกลืนกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมา กล่าวคือ พระสงฆ์คือที่พึ่งพิงของชาวบ้าน ชาวบ้านคือที่พึ่งพิงของพระสงฆ์ ไม่ต้องผ่านสถาบันศาสนาใดๆ







เอกสารอ้างอิง

ชิตมโน. พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย. ๒๕๓๓

ทรงวิทย์ แก้วศรี. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เล่ม ๑๐ พระพุทธศาสนาในอินโดจีน . กรุงเทพฯ: การศาสนา. ๒๕๓๐.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พระพุทธศาสนาในอาเซีย. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา, ๒๕๔๐.

พระมหาอุทัย ธมฺมสาโร. พระพุทธศาสนาและโบราณคดีในเอเซีย. กรุงเทพฯ: เฟื่องอักษร. ๒๕๑๖.

พระราชธรรมนิเทศ,(ระแบบ ฐิตญาโณ). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ. มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖.

เสถียร โพธินันทะ. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ เล่ม ๒ กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๓๕.

https://jinpizzz.wordpress.com/วิถีชีวิต/

https://sites.google.com/site/weblawwichakhxm/silp-wathnthrrm-laea-prapheni-prathes-law

http://puzinnian.blogspot.com/2010/01/blog-post_8975.html

https://sites.google.com/site/jutapron1012/bth-thi1-prawati-laea-khwam-sakhay-khxng-phraphuthth-sasna/1-1-kar-pheyphae-phraphuthth-sasna-khea-su-prathes-pheuxn-ban-laea-kar-nabthux-phraphuthth-sasna-khxng-prathes-pheuxn-ban-ni-paccuban

http://watmai.atspace.com/laos.htm

https://aseanasean.wordpress.com/ศาสนาของประชาชนในประชา/

http://www.asc.mcu.ac.th/?bwl_kb=buddhism-loas



http://www.training4.education.police.go.th/AEC.html


รวบรวมข้อมูลโดย : นายสถิต สมเสงี่ยม


ดาวน์โหลดไฟล์ : พระพุทธศาสนาในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


ตัวอย่างไฟล์ :

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น