พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า และมาเลเซีย



รายงาน

เรื่อง พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า และมาเลเซีย

จัดทำโดย

************

นำเสนอ

*****************

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดการกิจการพุทธศาสนาในอาเซียน

รหัสวิชา (๔๐๖ ๔๐๕) ๒ นก. ภาคเรียนที่ ************** ปีการศึกษา ๒๕**********

ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่ ************* สาขาการจัดการเชิงพุทธ

********************

คำนำ

คำว่า บทบาทของพระพุทธศาสนาในประเทศอาเซียน สามารถแสดงถึงนัยอยู่ ๒ ประเด็นใหญ่ ได้แก่ บทบาทของแต่ละประเทศที่กระทำกันอยู่ในภายในแต่ละประเทศในฐานะที่เป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งก็เป็นปกติของแต่ละประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาที่จะต้องมีข้อวัตรปฏิบัติตามแนวพระพุทธศาสนาทั้งในฝ่ายพระสงฆ์และฝ่ายของคฤหัสถ์ และอีกนัยหนึ่งหมายเอาบทบาทของพระพุทธศาสนาที่จะทำร่วมกันในอนาคตในฐานะที่เป็นประชาคมอาเซียนร่วมกัน รายงานเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายของการยกหัวข้อนี้ขึ้นมาก็คงมีจุดประสงค์เพื่อการมองหาจุดร่วมกันในการผลักดันพระพุทธศาสนาให้เข้าสู่เสาหลักที่ ๓ ของประชาคมอาเซียนที่ต้องการสร้างความมั่นคงทางสังคมและวัฒนธรรมร่วมกันได้อย่างไร

หากท่านต้องการเนื้อที่มีความละเอียดมากกว่านี้ ผู้จัดทำ แนะนำให้ท่านเปิดไปที่หน้าบรรณานุกรม เพื่อดูแหล่งที่มาของข้อมูลในรายงานเล่มนี้ และสุดท้ายผู้จัดทำขอให้ผู้ที่ได้อ่านรายงานที่เต็มไปด้วยเกร็ดความรู้มากมายในเล่มนี้ ให้มีความสุขสวัสดิ์ตลอดไป เทอญ


**********************



สารบัญ

เรื่อง หน้า

คำนำ ก

สารบัญ ข

บทนำ ๑

บทบาทพระพุทธศาสนาในประเทศอาเซียน ๑

ศาสนาของประชาชนในประชาคมอาเซียน ๖

ศาสนาหลักของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน ๗

พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า ๑๔

อิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อประเทศพม่า ๒๐

พระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซีย ๒๓

ชาวจีน และชาวไทยพุทธ ๒๔

การปกครองคณะสงฆ์ ๒๔

การเผยแผ่พระศาสนา ๒๕

พุทธศาสนาในปัจจุบัน ๒๕

บรรณานุกรม ๒๖


พระพุทธศาสนาอาเซียน



บทนำ

บทบาทพระพุทธศาสนาในประเทศอาเซียน



คำว่า บทบาทของพระพุทธศาสนาในประเทศอาเซียน สามารถแสดงถึงนัยอยู่ ๒ ประเด็นใหญ่ ได้แก่ บทบาทของแต่ละประเทศที่กระทำกันอยู่ในภายในแต่ละประเทศในฐานะที่เป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งก็เป็นปกติของแต่ละประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาที่จะต้องมีข้อวัตรปฏิบัติตามแนวพระพุทธศาสนาทั้งในฝ่ายพระสงฆ์และฝ่ายของคฤหัสถ์ และอีกนัยหนึ่งหมายเอาบทบาทของพระพุทธศาสนาที่จะทำร่วมกันในอนาคตในฐานะที่เป็นประชาคมอาเซียนร่วมกัน บทความนี้มีจุดมุ่งหมายของการยกหัวข้อนี้ขึ้นมาก็คงมีจุดประสงค์เพื่อการมองหาจุดร่วมกันในการผลักดันพระพุทธศาสนาให้เข้าสู่เสาหลักที่ ๓ ของประชาคมอาเซียนที่ต้องการสร้างความมั่นคงทางสังคมและวัฒนธรรมร่วมกันได้อย่างไร

ข้อควรทราบเบื้องต้น พระพุทธศาสนาเป็นวัฒนธรรมทางสังคมที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไปสู่ทิศทางที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นวัฒนธรรมสำหรับการดำเนินชีวิต (Way of life) อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ กล่าวไว้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นต้นตำรับวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่สุด แต่ยังทันสมัยและมีหลักอารยธรรม คือการนำให้พ้นความป่าเถื่อนที่ทำกันอยู่เดิม ไม่ว่าการกีดกันทางวรรณะ การบูชายัญ เป็นต้น วัฒนธรรมพระพุทธศาสนาทั้งปฏิวัติและปฏิรูปสังคมให้ดีขึ้น เช่น ปฏิวัติระบบวรรณะ (Caste System) ไม่ให้ยึดถือการเป็นคนดีไม่ดีอยู่ที่ชาติกำเนิด แต่ให้อยู่ที่การกระทำ ปฏิวัติเรื่องการบูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์แล้วได้บุญ แต่ให้บูชายัญด้วยการรักษาศีล ปฏิบัติสมาธิและเจริญปัญญาแทน ปฏิวัติความเชื่อในพรหมลิขิตมาเป็นกรรมลิขิตแทน ปฏิรูปการไหว้ทิศที่ไร้ความหมายมาเป็นทิศที่มีความหมาย เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางพระพุทธศาสนาที่ได้ทำไว้เป็นตัวอย่างในสมัยพุทธกาลและสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน แต่ปัจจุบันเริ่มมีความอ่อนแอทางด้านการเน้นย้ำวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาให้เป็นรูปธรรม



จะเห็นได้ว่า พระพุทธศาสนานั้นเป็นรากเหง้าแห่งวัฒนธรรมที่สามารถพัฒนาคนให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ประเสริฐยิ่งกว่าสรรพสัตว์ใด ๆ ได้ ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโถ เทวมานุเส ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติจึงชื่อว่าประเสริฐในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” พุทธวัฒนธรรมจึงเป็นวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่ดีงามและมีคุณค่าเป็นมรดกแห่งสังคมที่ควรรักษา

ในที่นี้จึงขอเสนอกรอบการแสดงบทบาทพระพุทธศาสนาในฐานะรากฐานสำคัญของสังคมและวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียนที่นับถือพระพุทธศาสนาเป็นหลักและที่กำลังได้รับการเผยแผ่เข้าไปสู่ประเทศอื่น ๆ ตามกรอบของวัฒนธรรมทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ กรอบคติธรรม เนติธรรม วัตถุธรรมและสหธรรม โดยมุ่งหมายให้ประชาคมอาเซียนยึดตามกรอบนี้กำหนดบทบาทของพระพุทธศาสนาร่วมกัน ดังนี้

๑. บทบาททางด้านคติธรรมในพระพุทธศาสนา

“คติธรรม” คือ ความเชื่อที่มีต่อหลักธรรมในพระพุทธศาสนาและต่อหลักความเชื่อ ๔ ประการ จะทำอย่างไรที่จะผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันปฏิบัติกันตามคติธรรมนี้อย่างเป็นรูปธรรม หลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา คือ หัวใจพระพุทธศาสนา ได้แก่ ละความชั่ว (สพฺพปาปสฺส อกรณํ) ทำความดีให้สมบูรณ์ (กุสลสฺสูปสมปทา) และทำจิตใจให้ผ่องใส (สจิตฺตปริโยทปนํ) ส่วนการปฏิบัติตามหลักสัทธาทั้ง ๔ ประการ ได้แก่ หลักความเชื่อในกรรม หรือการกระทำ (กมฺมสทฺธา) หลักความเชื่อในผลของกรรม หรือผลของการกระทำ (วิปากสทฺธา) หลักความเชื่อว่าทุกคนมีกรรมเป็นของของตน (กมฺมสกตฺตาสทฺธา) และหลักความเชื่อที่มีต่อการตรัสรู้พระพุทธเจ้า (ตถาคตโพธิสทฺธา)

การผลักดันกรอบแห่งคติธรรมข้อนี้ร่วมกันเชื่อว่าจะเป็นหลักพื้นฐานให้สังคมในประชาคมอาเซียนมีความเชื่อที่ถูกต้อง บุคคลจะเป็นเช่นไรก็ด้วยการกระทำของบุคคลผู้นั้นเอง หากทำงานก็ย่อมได้รับผลของงาน หากทำความชั่วก็ย่อมได้รับผลของความชั่วแน่นอนทั้งในระดับภายในและภายนอก ภายในได้แก่ความทุกข์ใจ ภายนอกได้แก่ความเสื่อมจากลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ตามหลักแห่งกรรมในจูฬกัมมวิภังคสูตรว่า “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับมรดกกรรม มีกรรม เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้องเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมนั่นแหละจำแนกสัตว์ให้ทรามและดี”

นอกจากนั้นในการดำเนินชีวิต ควรถือแนวคติของพระโพธิสัตว์ ดังที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๖๓) เคยปฏิบัติมาแล้ว ทำให้บ้านเมืองสงบร่มเย็น เพราะพระโพธิสัตว์นั้นมีชีวิตเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ปัดเป่าทุกข์ภัยให้กับผู้อื่น คติธรรมเช่นนี้เข้าได้กับความเชื่อในจิตอาสา ถ้าสามารถสร้างจิตอาสา สร้างคติแห่งพระโพธิสัตว์ในการดำเนินชีวิตย่อมทำให้ภูมิภาคนี้โดดเด่นขึ้นมาในด้านความสุข สงบของสังคมแน่นอน

๒. บทบาททางด้านวัตถุธรรมในพระพุทธศาสนา

ในด้านวัตถุธรรมเป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ปติมากรรม จิตรกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า วัตถุธรรมทางด้านนี้ของพระพุทธศาสนานั้นงดงาม แสดงให้เห็นถึงอารยธรรมชั้นสูงของสังคมในประเทศอาเซียน จำเป็นต้องกำหนดร่วมกันผลักดันให้พุทธศิลป์ทั้งหมดเหล่านี้ได้รับการศึกษา รักษาไว้ และเผยแผ่ออกไปเพื่อให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ ให้ชาวโลกได้เสพความงดงามทางด้านนี้ พุทธศิลป์ทั้งมวลสร้างขึ้นบนพื้นฐานพุทธปรัชญาเพื่อใช้ศิลปะให้เข้าถึงจริยธรรม เป็นการเติมเต็มความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น บทบาทของประชาคมอาเซียนต้องร่วมมือกันจัดกิจกรรมสื่อวัตถุธรรมให้โดดเด่น ให้เป็นประโยชน์ทุกมิติ ทั้งมิติศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วย

๓. บทบาททางด้านเนติธรรมในพระพุทธศาสนา

หลักเนติธรรม เป็นหลักที่แสดงถึงความเชื่อในกฎเกณฑ์กติกาในสังคม กล่าวได้ว่า เนติธรรมที่เป็นกฎหมายบ้านเมืองนั้นสร้างวัฒนธรรมให้คนกลัวการลงโทษ แต่เนติธรรมที่เป็นความเชื่อทางสังคมนั้นจะทำให้เกิดความกลัวที่มาจากใจ ไม่กล้าทำผิด เป็นการมีหลักหิริและโอตัปปะต่อการกระทำความผิด แม้ไม่มีคนเห็นก็ไม่กล้าทำเนื่องจากเกรงจะเป็นเภทภัยกับตนและครอบครัว การใช้ระบบเนติธรรมที่เรียกว่า การขัดเกลาทางสังคม (Socialization) นั้นมีความยั่งยืนและแน่นอนกว่าการบีบบังคับ

เนติธรรมตามหลักแนวของพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่บนพื้นฐานของศีล ๕ คือ การไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตให้ได้รับความเดือดร้อน ไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ ไม่ผิดประเวณีโดยการครอบครองของรักของหวงของผู้อื่น ไม่พูดกลับกลอกหลอกลวง และไม่ดื่มน้ำเมาและสิ่งเสพติดที่ทำให้เป็นที่มาของความประมาท และตั้งอยู่บนพื้นฐานของธรรม ๕ คือ ความมีเมตตากรุณา การรู้จักเสียสละ การยินดีในภรรยาของตน การมีสัจจะรักษาคำพูด และการมีสติสัมปชัญญะ ประชาคมอาเซียนที่นับถือพระพุทธศาสนาจะต้องผลักดันให้ประชาชนในแต่ละประเทศของตนยึดถือเนติธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างสังคมคมดี คนดี สร้างสังคมสันติ ไม่ละเมิดทางทั้งกาย วาจา และใจต่อผู้อื่น และสร้างสังคมเสมอภาค กล่าวคือ มนุษย์ทุกคนย่อมได้รับผลกรรมที่ตนได้กระทำไว้ไม่ว่าดีหรือชั่วก็ตามดังคำสอนในพระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า “ถ้าท่านกลัวทุกข์ก็อย่าทำกรรมชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ถ้าท่านจักทำ หรือทำอยู่ซึ่งกรรมชั่ว ถึงแม้จะเหาะหนีไปก็จะไม่พ้นจากความทุกข์ไปได้เลย” เบื้องต้นให้ทำเป็นโครงการนำร่องปฏิบัติในแต่พื้นที่หรือแต่ละโซน (zoning) เป็นลำดับโดยให้แต่ละประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันบทบาทด้านนี้ประสบความสำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้กลายเป็นบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมและสามารถเชื่อมโยงหลักศีลธรรมนี้ในการพัฒนาสังคมให้สงบสุขได้

๔. บทบาททางด้านสหธรรมในพระพุทธศาสนา



สหธรรม (Social Cultural)เป็นวัฒนธรรมทางสังคมในด้านการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันตามหน้าที่ และสถานะทางสังคม เช่น หน้าที่ระหว่างมารดาบิดากับบุตรธิดา ครูอาจารย์กับศิษย์ สามีกับภรรยา มิตรกับมิตร นายกับบ่าว และสมณพราหมณ์กับฆราวาส เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องการอยู่ร่วมกัน การปฏิบัติร่วมกัน ความเอื้อเฟื้อ การเดิน การยืน และการรับประทานอาหาร ความเคารพ ความอ่อนน้อม การใช้ภาษา กริยามารยาทที่มีต่อกันและกันในสังคม บทบาทในด้านนี้ควรเริ่มที่ภาษา ควรผลักดันให้มีการศึกษาภาษาบาลีในคัมภีร์ให้เป็นรูปธรรมร่วมกัน นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการใช้ภาษาที่มีรากฐานเดียวกันอีกด้วย เพราะให้เกิดความเข้าใจในสายใยร่วมกันที่เชื่อมโยงทางด้านภาษา

นอกจากนั้นปัจจุบันกำลังจะมีการสร้างธนาคารพระพุทธศาสนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำนุ บำรุงพระพุทธศาสนาเป็นหลัก และเป็นองค์กรทางการเงินร่วมกันในการสนับสนุน ส่งเสริม และผลักดันกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาทุกด้านให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา สถาบันการเงินทางพระพุทธศาสนาขนาดใหญ่อย่างนี้จะเป็นการเชื่อมประสานการเงินระหว่างประชาคมอาเซียนเพื่อกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะก็ยิ่งทำให้บทบาททางด้านสหธรรมเด่นชัดเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

ศาสนาของประชาชนในประชาคมอาเซียน



ศาสนานอกจากจะเป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ และจิตวิญญาณของประชาชนในชุมชนและประเทศนั้นๆ แล้ว ยังเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งและควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมให้ดำเนินไปตามครรลองหรือบรรทัดฐานของสังคม โดยปราศจากการพันธนาการ ดังนั้น ศาสนา จึงเป็นประดิษฐกรรมทางความคิดอันสูงส่ง

และมีคุณูปการต่อโลกและมนุษยชาติทั้งมวล บทความนี้ให้ความสำคัญศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน อย่างไรก็ตามก่อนที่จะกล่าวถึงศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน ควรจะทำความเข้าใจภาพรวม เพื่อเป็นพื้นฐานการทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นเสรีภาพและหลักการพื้นฐานที่ประชาชนและรัฐสมาชิกอาเซียนจะต้องเคารพในวัฒนธรรม ภาษาและศาสนาที่แตกต่างกัน และสร้างความเป็นเอกภาพในความหลากหลายดังกล่าว เพื่อความมั่นคงของประชาคมอาเซียนโดยทั่วไป ศาสนา แปลว่า “คำสอน” และหมายความถึง “คำสั่ง” ด้วย จึงเรียกรวมกันว่า “คำสั่งสอน” อย่างไรก็ตามมีการให้ความหมายและความสำคัญของศาสนาไว้โดยปราชญ์ทางศาสนามากมายดังนี้ ศาสนา คือ ลัทธิความเชื่อของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้นๆ คำสอน หลักธรรม หรือลัทธิที่ศาสดาแห่งศาสนาใดศาสนาหนึ่งได้บัญญัติขึ้น หรือได้ประกาศสถาปนาขึ้น โดยมีบุคคลในสังคมใดสังคมหนึ่ง ได้ให้ความศรัทธา เลื่อมใสและยึดเป็นหลักปฏิบัติตน คำสอนหรือคำสั่งสอนที่จะเรียกว่าเป็นศาสนา ต้องมีลักษณะหรือมีองค์ประกอบ คือ มีศาสดา หรือผู้ก่อตั้งริเริ่มคิดค้นหลักคำสอนจนสามารถตั้งเป็นกฎเกณฑ์แน่นอนและนำไปสั่งสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้ มีคำสอน คือ หลักธรรม อันเป็นคำสอนเกี่ยวกับหลักศีลธรรม จรรยา เว้นความชั่วทำความดี ปลูกฝังความเชื่อในอำนาจที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือเชื่อผลของการกระทำหรือกรรม มีสาวก หรือผู้ปฏิบัติตาม คือ ผู้เลื่อมใสศรัทธาและปฏิบัติตามคำสอนของศาสดานั้นๆ โดยถือเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต มีการสืบทอดศาสนาในรูปของนักบวช เช่น พระภิกษุ และหรือบาทหลวง เป็นต้น มีพิธีกรรมของศาสนา เช่น การอุปสมบท การละหมาด การรับศีลล้างบาป มีศาสนสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร สุเหร่า หรือมัสยิดตามที่ศาสนานั้นๆ เรียกขาน ศาสนาสำคัญของโลกในปัจจุบันประกอบด้วย ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม โดยศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีแหล่งกำเนิดในเอเชียใต้แถบประเทศสาธารณรัฐอินเดียและปากีสถาน มีอายุมากกว่า ๕,๐๐๐ ปี ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่ นับถือ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐอินเดียและเนปาล ส่วนศาสนาพุทธ เป็นศาสนาเก่าแก่เป็นอันดับที่ ๒ เกิดหลังศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๒,๐๐๐ ปี มีแหล่งกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐอินเดียและเนปาล เกิดก่อนศาสนาคริสต์ประมาณ ๕๔๓ ปี ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือ ได้แก่ ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐศรีลังกา

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐกัมพูชา สาธารณรัฐสิงคโปร์ และภูฏาน เป็นต้น สำหรับศาสนาที่เก่าแก่เป็นอันดับที่ ๓ มีแหล่งกำเนิดแถบประเทศปาเลสไตน์และอิสราเอล หลังพุทธศาสนา ๕๔๓ ปี ประเทศที่มีประชากรนับถือเป็นศาสนาประจำชาติหลายประเทศทั่วโลก สำหรับศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาเก่าแก่เป็นอันดับที่ ๔ มีแหล่งกำเนิดในนครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย หลังศาสนาพุทธ ๑,๑๑๓ ปี และหลังศาสนาคริสต์ ๖๐๐ ปี ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐปากีสถาน และสาธารณรัฐบังคลาเทศ



ศาสนาหลักของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน

รัฐสมาชิกอาเซียนที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประกอบด้วย ราชอาณาจักรกัมพูชา ๙๕% ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ๗๕% ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ๙๐% ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ๔๒.๕% ราชอาณาจักไทย ๙๕% และประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๗๐% นับถือศาสนาอิสลาม ประกอบด้วยประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม ๖๗% ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๘๗% และประเทศมาเลเซีย ๖๐.๔% นับถือศาสนาคริสต์ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ๙๒% นอกจากนี้ยังนับถือศาสนาพุทธ ในเปอร์เซ็นต์ที่สูงในประเทศมาเลเซีย ๑๙.๒% และประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม ๑๓% ศาสนาคริสต์ ในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๑๕% ประเทสาธารณรัฐสิงคโปร์ ๑๔.๕% ประเทศมาเลเซีย ๑๑.๖% และประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม ๑๐% อิสลาม ๑๐% ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ๑๔.๕% ประชาชนในรัฐสมาชิกอาเซียนดังกล่าวข้างต้น ได้ยึดหลักการสำคัญของศาสนาที่ตนเองนับถือซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตหรือแบบแผนของการดำเนินชีวิต ศิลปะ สถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม ตลอดจนการเมืองการปกครองประเทศอย่างเป็นอัตลักษณ์ที่เด่นชัดของแต่ละประเทศ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน จึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะเข้าไปสู่หัวใจของประชาชาตินั้น และเป็นพื้นฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติบนความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนา ภายใต้เสาหลักของประชาคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ซึ่งเกื้อกูลและเกื้อหนุนต่อประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community-APSV) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC)แนวทางการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศภาคีสมาชิกศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ล้วนถือกำเนิดขึ้นในทวีปเอเชีย กล่าวคือ ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามถือกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธถือกำเนิดในประเทศเอเชียใต้และแพร่หลายเข้ามาแทนที่ความเชื่อและการเคารพนับถือของประชาชนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมตัวกันเป็นอาเซียนและจะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนใน พ.ศ.๒๕๕๘ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อถือทางศาสนาของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศนั้นๆ จึงเป็นวิถีทางหรือพื้นฐานที่สำคัญที่สุดที่จะเข้าไปสู่หัวใจของประชาชาตินั้นๆ



ศาสนาของประชาชนในประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม

ประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาราม เดิมประชาชนนับถือความเชื่อที่สืบทอดกันมาตามประเพณี ต่อมาได้รับอิทธิพลทางศาสนาพุทธจากอาณาจักรศรีวิชัย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ซึ่งมีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่ภาคใต้ของประเทศไทย ประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซียทั้งหมด อาณาจักรศรีวิชัยนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน พุทธศตวรรษที่ ๑๙ อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมลง ศาสนาอิสลามเข้ามาแทนที่และกลายเป็นศาสนาที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือและเป็นศาสนาประจำชาติ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ ๖๗% และเป็นศาสนาประจำชาติ ศาสนาพุทธ ๑๓% และศาสนาคริสต์ ๑๐% ที่เหลือนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู



ศาสนาของประชาชนในราชอาณาจักรกัมพูชา

ราชอาณาจักรกัมพูชานั้น ความเชื่อดั้งเดิมของประชาชน คือ นับถือตามบรรพบุรุษ ได้แก่ นับถือโลกธาตุ ดิน น้ำลม ไฟ และผี ต่อมาได้รับเอาวัฒนธรรมอินเดียมาใช้ในพิธีกรรมต่างๆ โดยศาสนาแรกที่ประชาชนนับถือ ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ต่อมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานและเถรวาทตามลำดับ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งเริ่มเมื่อ พ.ศ.๑๗๒๔ ได้ทรงทำนุบำรุงศาสนาจนเจริญรุ่งเรืองและได้รับการนับถือจากประชาชนทุกระดับตั้งแต่กษัตริย์ลงมา และเป็นศาสนาประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชาในปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ๙๕% นับถือศาสนาอิสลาม ๓% ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู



ศาสนาของประชาชนในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

ความเชื่อดั้งเดิมของประชาชนมีลักษณะเช่นเดียวกันกับประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่นับถือตามบรรพบุรุษสืบกันมาตามประเพณี ศาสนาพุทธได้แพร่หลายและหรือเผยแพร่เข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียในปัจจุบัน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓ โดยพระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์ของอินเดียได้ส่งพระโสภณพระอุตตรเถระเป็นมรณะทูตเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนแถบนี้ที่รู้จักกันในนามสุวรรณภูมิ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ได้เกิดอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่อาณาจักรหนึ่ง ชื่อ “อาณาจักรศรีวิชัย” นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน โดยพบหลักฐานทางโบราณวัตถุที่สำคัญจำนวนมาก ได้แก่พระพิมพ์ดินดิบและรูปพระโพธิสัตว์ ซึ่งสร้างขึ้นตามความคติความเชื่อของผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน พุทธศตวรรษที ่ ๑๕ อาณาจักรศรีวิชัยบนเกาะชวาภาคกลางได้ติดต่อสัมพันธ์กับแคว้นเบงกอล โดยส่งพระภิกษุและช่างฝีมือมาเผยแผ่พุทธศาสนาและศิลปะแบบปาละ โดยการสร้างพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ในดินแดนแห่งนี้และมีพุทธสถานที่สำคัญหลายแห่งที่แสดงให้เห็นความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียในอดีต โดยเฉพาะพุทธศาสนสถานบุโรพุทโธ/โบโรบุดูร์(บรมพุทโธ) ซึ่งตั้งอยู่ที่ราบเกฑุ (kedu) ในภาคกลางของชวา และพระวิหารเมนดุต (Mendut) ต่อมาใน พ.ศ.๒๐๑๒ ศาสนาอิสลามได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศสาธาณรัฐอินโดนีเซีย ศาสนาพุทธตกอยู่ในภาวะเสื่อมถอยลงมาและกลายเป็นศาสนาของชนกลุ่มน้อยในที่สุด ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ๘๗% นับถือศาสนาคริสต์ ๙.๕% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๑.๘% และศาสนาพุทธ ๑.๓%ตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัยที่ได้กล่าวถึงมาแล้วข้างต้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้แผ่เข้าสู่ประเทศมาเลเซียตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๓ แต่ไม่แพร่หลายนัก ต่อมาในพุทธศตวรรษาที่ ๑๒ ได้รับอิทธิพลศาสนาพุทธนิกายมหายานจากอาณาจักรศรีวัย ต่อมาศาสนาอิสลามได้เข้ามาเผยแพร่หลายอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ในสมัยรพะเจ้าปรเมศวร แห่งอาณาจักรมะละกาเป็นต้นมา ทำให้ศาสนาพุทธหมดความสำคัญลงประเทศมาเลเซีย ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ๖๐.๔% นับถือศาสนาพุทธ ๑๙.๒% ศาสนาคริสต์ ๑๑.๖% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๖.๓% และอื่นๆ ๒.๕%



ศาสนาของประชาชนในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์

ศาสนาพุทธเข้าสู่ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์ของอินเดีย พบว่าศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้เจริญรุ่งเรืองและประดิษฐานมั่นคงสืบมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๖ เพราะได้พบหลักฐานเป็นคำจารึกภาษาบาลีระบุว่าศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้เข้ามาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชดังกล่าวแล้ว โดยได้รับการทำนุบำรุงจากกษัตริย์และประชาชนสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ๙๐% และเป็นศาสนาประจำชาติ นับถือศาสนาคริสต์ ๕% ศาสนาอิสลาม ๓.๘% และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๐.๐๕%



ศาสนาของประชาชนในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ประมาณ พ.ศ.๖๑๒ ประชาชนนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน พ.ศ.๑๒๙๐ กลับไปนับถือลัทธิพื้นเมือง คือนับถือผีตามที่บรรพบุรุษสืบทอดมา ซึ่งบางส่วนยังคงนับถือสืบทอดมาจนปัจจุบัน พ.ศ.๑๘๙๖ กษัตริย์ของลาวขณะนั้น (อาณาจักรล้านช้าง) ส่งทูตไปทูลขอนิมนต์พระสงฆ์จากอาณาจักรเขมรเข้ามาเผยแพร่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทในอาณาจักรล้านช้าง จนศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเจริญรุ่งเรืองประดิษฐานมั่นคงสืบมาจนถึงปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ๗๕% และเป็นศาสนาประจำชาติ นับถือศาสนาคริสต์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน และนับถือศาสนาอิสลาม ประมาณ ๓๐๐ คน ที่เหลือนับถือผี ๑๖-๑๗%ศาสนาของประชาชนในประเทศมาเลเซียในอดีตประเทศมาเลเซียเคยได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธมา

ศาสนาของประชาชนในประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

เดิมประชาชนได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมและพุทธศาสนาจากอาณาจักศรีวิชัยในสมัยเรืองอำนาจ ที่ได้แผ่ขยายมาจนถึงประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ในพุทธศตวรรษที่ ๗ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ตามมาด้วยศาสนาพุทธนิกายมหายานระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ในขณะที่เมืองขึ้นของประเทศสเปนและสหรัฐอเมริกาได้รับอิทธิพลทางศาสนาคริสต์จากประเทศเจ้าของอาณานิคมอย่างกว้างขวางทั่วทั้งประเทศ ส่วนทางภาคใต้ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลของศาสนาอิสลาม และเมื่อชาวอินเดียและปากีสถานอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานก็ได้นำศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเข้ามาด้วย ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ๙๒% ศาสนาอิสลาม ๕% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๒% และศาสนาพุทธ ๑.๕%



ศาสนาของประชาชนรัฐสิงคโปร์

เป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย ประชาชนจึงได้รับอิทธิพลทางศาสนาเช่นเดียวกับประเทศมาเลเซีย กล่าวคือ ศาสนาพุทธได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศนี้ตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย ศาสนาพุทธนิกายมหายานจึงเจริญมั่นคงเนื่องจากชาวจีนโพ้นทะเลเจ้ามาตั้งรกรากในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ก็มีชาวมาเลย์ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามและชาวอินเดียซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๔% ไม่นับถือศาสนา ๒๕% ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ๔๒.๕% ศาสนาอิสลาม ๑๔.๙% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๔% ไม่นับถือศาสนา ๒๕%



ศาสนาของประชาชนในราชอาณาจักรไทย

ก่อนที่ศาสนาพุทธจะเข้ามาสู่ราชอาณาจักรไทย ประชาชนส่วนใหญ่นับถือลัทธิพื้นเมืองตามที่สืบทอดกันมา ศาสนาพุทธเข้ามาสู่ดินแดนที่เป็นราชอาณาจักรไทยปัจจุบันในพุทธศตวรรษที่ ๓ โดยพระสมณทูตพระโสภณเถระและพระอุตรเถระที่พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ของอินเดียส่งเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ ศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยทั้งด้านวรรณกรรมและพิธีกรรมในราชสำนัก อีกศาสนาหนึ่งคือ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และเชื่อว่าเข้ามาก่อนสมัยสุโขทัย เนื่องจากพบโบราณสถานและรูปสลักเทพเจ้าซึ่งสร้างขึ้นตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นจำนวนมากในราชอาณาจักรไทย โดยโบราณสถานและรูปสลักเทพเจ้าดังกล่าวมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๐ หรือเก่ากว่านั้น อย่างไรก็ตามกษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยได้ทำนุบำรุงศาสนาพุทธนิกายเถรวาทให้เจริญรุ่งเรืองประดิษฐานมั่นคงสืบมาจนถึงปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ๙๕% เป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย ทั้งนี้เพราะมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๙ ว่าระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม ๔% ศาสนาคริสต์และอื่นๆ ๑%



ศาสนาของประชาชนในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

ประชาชนเวียดนามได้รับอิทธิพลทางศาสนาผ่านทางประเทศจีน โดยเริ่มแรกลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อ ได้เผยแพร่เข้าสู่ประเทศเวียดนามก่อน จนถึง พ.ศ. ๗๓๒ คณะธรรมทูตจากประเทศจีนหลายคณะจึงได้ไปเผยแพร่และประดิษฐานศาสนาพุทธนิกายมหายาน และได้รับการฟื้นฟูใน พ.ศ.๑๕๑๒ ต่อมาได้รับการนับถืออย่างแพร่หลาย โดยกษัตริย์ของเวียดนามทรงเอาใจใส่ทำนุบำรุงพุทธศาสนาเป็นอย่างดีจนตกทอดมาถึงปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ๗๐% นับถือศาสนาคริสต์ ๑๕% ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลามและลัทธิขงจื๊อ



ศาสนาในประเทศมาเลเซีย

ส่วนใหญ่ของศาสนาที่เด่น ๆ ของโลกจะถูกแสดงและตามด้วยผู้อยู่อาศัยของประเทศมาเลเซีย ศาสนาเช่นอิสลามพุทธฮินดูซิกข์, เต๋า, ขงจื้อและศาสนาคริสต์มีค่อนข้างมากในการแสดงตนของประเทศนี้ ความเชื่อและการปฏิบัติของศาสนาเหล่านี้ได้ให้มาเลเซียอักขระเชื้อชาติที่แตกต่างอย่างมาก การปฏิบัติทางศาสนาที่แตกต่างกันในประเทศมาเลเซียได้หล่อเลี้ยงสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมซึ่งเป็นหลายเชื้อชาติและหลายมิติ

อิสลามเป็นศาสนาประจำชาติและศาสนาที่โดดเด่นที่สุดของมาเลเซีย เกี่ยวกับร้อยละ ๕๘ ของจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศมาเลเซียปฏิบัติศาสนาอิสลาม ในความเป็นจริงมากที่สุดของผู้ติดตามของศาสนาอิสลามเป็นมาเลเซีย เนื่องจากความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งหุ้นประเทศที่มีประเทศจีนประมาณ ๒๗ เปอร์เซ็นต์ของคนจากประเทศมาเลเซียเป็นผู้ติดตามของพุทธศาสนา เกี่ยวกับ ๘% ของประชากรเป็นชาวฮินดูศาสนาฮินดูมีประสบการณ์ส่วนใหญ่โดยมีประชากรอินเดียที่อาศัยอยู่ในประเทศศาสนาอื่น ๆ เช่นคริสต์ศาสนาเต๋า, ขงจื้อและศาสนาซิกข์ประกอบด้วยประมาณ ๙ เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด ศาสนาคริสต์ได้ทำผลกระทบที่มีขนาดใหญ่เมื่อมาเลเซียตะวันออกในการเปรียบเทียบกับคาบสมุทรมาเลเซีย คนพื้นเมืองหลายแห่งในมาเลเซียตะวันออกได้ปรับศาสนาคริสต์เป็นศาสนาของพวกเขาทั้งๆที่มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามเด่นสถานะของเสรีภาพทางศาสนาหรือเสรีภาพในการนับถือศาสนาใด ๆ ที่ได้รับการรับประกันโดยรัฐธรรมนูญของประเทศ นี้ได้รับผลกระทบจากสังคมที่มีขนาดใหญ่สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทางเชื้อชาติที่กฎหมายหรือสัญญาในประเทศ ดังนั้นศาสนาในมาเลเซียเล่นเป็นส่วนสำคัญมากในการดำเนินชีวิตของประชาชน มีมัสยิดจำนวนมากศาลเจ้าโบสถ์และวัดทั่วประเทศมาเลเซีย


พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า



พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศพม่าในยุคใดนั้น ประวัติศาสตร์ยังเลือนลางอยู่ แต่เชื่อกันว่า พุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศพม่า เมื่อคราวที่พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งอินเดีย ได้อุปถัมภ์การสังคยานา ครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖ ได้มีการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแถบ ประเทศต่าง ๆ รวม ๙ สายด้วยกัน พม่าก็อยู่ในส่วนของสุวรรณภูมิด้วย และชาวพม่ายังเชื่อว่า สุวรรณภูมิ มีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองสะเทิม ทางตอนใต้ของพม่า จากประวัติศาสตร์ ได้ทราบว่า พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในพม่าในราว พุทธศตวรรษที่ ๖ เพราะ ได้พบหลักฐานเป็นคำจารึกภาษาบาลี นักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่ง ชื่อว่า ตารนาถ เห็นว่า พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทได้เข้ามาสู่เมือง พม่า ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ต่อมาได้มีพระสงฆ์ฝ่ายมหายานซึ่งเป็นศิษย์ของพระวสุพันธุ ได้นำเอาพระพุทธศาสนาแบบมหายานลัทธิตันตระ เข้าไปเผยแผ่ ในครั้งนั้น พม่ามีเมืองพุกามเป็นเมืองหลวง มีชื่อเรียกชาวพม่าว่า "มรัมมะ" ส่วนพวกมอญ หรือ ตะเลง ซึ่งมีเมืองหลวงชื่อ "สะเทิม" (สุธรรมวดี) และถิ่นใกล้เคียงรวมๆ เรียกว่า รามัญประกาศ จนพระพุทธศาสนาทั้งแบบมหายาน และแบบเถรวาทเจริญรุ่งเรืองในพม่า เป็นเวลาหลายร้อยปี




ในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในประเทศพม่าเป็นอย่างมากทั้งแบบเถรวาท และมหายาน ก่อนหน้าที่พม่าจะมานับถือศาสนาพุทธ พม่าก็นับถือ ผีสางนางไม้ เหมือนชนชาติอื่น ๆ ในแหลมอินโดจีนลงจนถึงอินโดนีเซีย ซึ่งชาวพม่านับถือ ผี สาง นางไม้ บูชากราบไหว้วิญญาณ หรือภูติผี ปีศาจ ซึ่งเรียกกันว่า นัต นัตนี้เป็นทั้งพระภูมิเจ้าที่ เทพยดาธรรมชาติ ผีดิน ผีฝน ผีลม ตลอดจนเจ้าเขา เจ้าป่า เจ้าแม่น้ำ เจ้าต้นไม้ รวมทั้งเจ้าประจำหมู่บ้าน เจ้าประจำเรือน จากสงครามในครั้งนั้น สามารถรวมเอาเมืองสะเทิม ของพวกมอญ กับเมืองพุกามของพม่า รวมเป็นอาณาจักรเดียวกันได้ พวกมรัมมะหรือ พม่า เป็นผู้ชนะได้รับเอาวัฒนธรรมของพวกมอญมาเป็นของตนเกือบทั้งหมด ตั้งแต่ตัวอักษร ภาควรรณคดี และศาสนา เป็นต้น ตั้งแต่บัดนั้นมาพม่าจึงได้เปลี่ยนการนับถือพระพุทธศาสนามหายาน มาเป็นแบบเถรวาท แต่ก็ยังหลงเหลืออิทธิพลของความเชื่อฝ่ายมหายานอยู่บ้างไม่น้อย พระเง้า อนุรุทธทรงแลกเปลี่ยนศาสนทูตกับลังกา ทรงนำเอาพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์มาจากลังการ ๓ จบ และนำมาชำระสอบทานกับฉบับที่ได้จากเมืองสะเทิม ทรงอุปถัมภ์ศีลกรรมต่าง ๆ การบำเพ็ญพระราชกรณียกิจของพระองค์ ทำให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของชนชาติพม่าทั่วทั้งประเทศ กษัตริย์พระองค์ต่อ ๆ มา ก็ได้เจริญรอยพระปฏิปทาในการทำนุบำรุงพระศาสนาเช่นเดียวกับพระองค์ ส่วนศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดูก็เสื่อมไปหมด และในระหว่างสมัยที่พุกามรุ่งเรืองนี้ พระภิกษุจำนวนมาก ได้เดินทางไปศึกษาในลังกาทวีป บางท่านไปศึกษาแล้วรับอุปสมบทใหม่ กลับมาตั้งคณะสงฆ์เถรวาทคณะใหม่ ๆ สายลังกา แยกออกไปก็มี เช่น พระจปฏะ ใน พ.ศ. ๑๗๒๕ ซึ่งทำให้มีการแข่งขันกันระหว่างสงฆ์ต่างคณะ มาเป็นเวลาประมาณ ๓ ศตวรรษพระเจ้าอโนรธามังช่อ ครองราชสมบัติได้ ๓๓ ปี เจ้าเสด็จสวรรคต เพราะถูกกระบือเผือกขวิด เมื่อ พ.ศ. ๑๖๒๐ พระโอรสพระนามว่า จอลู ขึ้นครองราชย์แทน ได้เพียง ๒ ปี ก็ถูกปรงพระชนม์จากการกบฏ แม่ทัพกันชิตขึ้นครองราชย์แทน พระเจ้ากันชิต ได้แผ่อาณาเขตลงมาถึงตะนาวศรี ในสมัยนั้นชาวพุทธอินเดียได้อพยพลี้ภัยจากพวกมุสลิม และได้นำแบบแผนพุทธเจดีย์จำนวนมากเข้ามาด้วย พระเจ้ากันชิต จึงได้โปรดให้สร้างพระธาตุชะเวดากอง ซึ่งพระเจ้าอโนรธามังช่อ สร้างค้างไว้จนเสร็จสมบูรณ์ พ.ศ. ๑๖๓๔ ทรงโปรดให้สร้างอานันทเจดีย์ขึ้น จัดเป็นปูชนียสถานที่สวยงามแหงหนึ่งในพม่า นอกจากนั้น พระองค์ยังได้ส่งคณะทูตไปปฏิสังขรณ์พุทธวิหารที่อินเดีย นับเป็นครั้งแรกที่กษัตริย์พม่าจัดการปฏิสังขรณ์วิหารพุทธคยานี้ พระเจ้ากันชิตสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๑๖๕๕ ในสมัยของพระเจ้านรปฏิสิทธุ (ครองราชย์เมื่อ พ.ศ. ๑๗๑๖) ได้ส่งสมณทูตไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา เมื่อพ.ศ. ๑๗๓๓ โดยมีพระอุตราชีวะเป็นประธาน ครั้งนั้น ได้มีเด็กชาวมอญคนหนึ่งชื่อ ฉะบัฏ บวชเป็นสามเณรติดตามไปยังลังกา ได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในลังกา และได้อุปสมบทในลัทธิลังกาวงศ์ ต่อมาภายหลัง ได้เดินทางกลับพม่าพร้อมกับพระภิกษุอีก ๔ รูป คือ พระสิวลี พระราหุล พระตามวินทะ และพระอานนท์ ได้ตั้งนิกายใหม่ในพม่าคือ นิกายสิงหล (ลัทธิสาวกยานแบบลังกาวงศ์)



การเกิดขึ้นของนิกายสิงหล (ลังกาวงศ์) ในประเทศพม่า โดยพระภิกษุคุปตะ ผู้ได้รับการอุปสมบทจาก ลังกา แล้วมาเผยแผ่ในพม่า ก่อให้เกิดความขัดแย้ง กล่าวคือ พระภิกษุนิกายสิงหลไม่ยอมรับว่า พระพม่าได้รับการอุปสมบทอย่างถูกต้อง จึงเกิดการขัดแย้งกันระหว่างพระนิกายสิงหล กับ พระนิกายมะระแหม่งของพม่า เป็นเวลานานถึง ๓ ศตวรรษและในที่สุด พระสงฆ์นิกายสิงหลก็เป็นฝ่ายชนะ พ.ศ. ๑๗๕๓ พระเจ้าชัยสังข์ขึ้นครองราช ทรงให้ช่างไปถ่ายแบบปรางค์ พุทธคยาจากอินเดีย กลับมาสร้างวิหารมหาโพธิที่เมืองพุกามขึ้น พม่ายังได้นำเอาแบบปรางค์พุทธคยามาสร้างที่เมืองเชียงใหม่ ณ ที่วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) พ.ศ. ๑๘๓๑ อาณาจักรพุกามได้ล่มสลายล เพราะถูกพวกกุบไลข่าน ยกทัพมาตีจีนก่อน และตีพุกามจนแตก จนพระเจ้านรสีหปติ เสร็จหนี ทิ้งเมืองพุกามไป กองทัพมองไกล ตีพุกามได้แล้ว ก็ยกทัพกลับไป ทางด้านพระศาสนาก็ยังคงรุ่งเรืองสืบมา อาณาจักรพุกามเป็นเมืองหลวงของพม่าอยู่ ๒๔๐ ปี ก็เสื่อมลงเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๐ ต่อมามีเชื้อพระวงศ์พุกามองค์หนึ่ง ได้สถาปนากรุงรัตนบุรอังวะขึ้นเป็นราชธานี เมื่ออิทธิพลของพุกามเสื่อมลง พวกไทยใหญ่ได้รวมพวกกันรุกรานพม่าตอนเหนือ และได้สร้างเมืองใหญ่เมืองน้อยอยู่กระจายทั่วไป ในขณะนั้นก็ได้มีการสร้างอาณาจักรล้านนา และอาณาจักรสุโขทัยด้วย ทางด้านเมืองมอญ ในรัชสมัยของพระเจ้าธรรมเจดีย์ศรีปิฎกธร ทรงครองราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๓ ในขณะนั้นพระสงฆ์ในเมืองมอญได้แตกแยกเป็น ๖ คณะใหญ่ มีความหย่อนยานทางข้อปฏิบัติ และขาดความเป็นเอกภาพในคณะสงฆ์ จึงทรงฟื้นฟูใหม่ด้วยการให้คณาจารย์จาก ๖ สำนักใหญ่มาประชุมกัน ขอร้องให้ไปอุปสมบทใหม่ในลังกา เพื่อให้เกิดความเสมอภาพและเป็นปึกแผ่นของคณะสงฆ์ คณะสงฆ์จาก ๖ สำนักก็เห็นชอบด้วย จึงได้เดินทางไปลังกาเพื่ออุปสมบทใหม่ โดยมีพระคณาจารย์ ๒๒ รูป พระอนุจรอีก ๒๒ รูป รวมเป็น ๔๔ รูป เดินทางไปลังกา กษัตริย์ลังกาทรงอุปถัมภ์ด้วยดี ทรงนิมนต์พระมหาเถระชาวลังกา ๓ รูป คือ พระธรรมกิตติ พระวันรัต และพระมังคละ และสงฆ์อีก ๒๕ รูป ทำการอุปสมบทแก่สงฆ์มอญใหม่ เมื่อกลับมาสู่เมืองหงสาวดีแล้ว พระเจ้าธรรมเจดีย์ก็ได้ประกาศราชโองการให้พระสงฆ์ทั่วแผ่นดินสึกกันหมด แล้วบวชใหม่ กับคณะสงฆ์ที่บวชจากลังกา โดยเรียกคณะใหม่ว่าคณะกัลยาณี ในครั้งนั้นได้มีพระบวชในคณะกัลยาณีถึง ๑๕,๖๖๖ รูป คณะสงฆ์เมืองหงสาวดีก็กลับมาเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง แต่ก็เพียงชั่วพระชนมายุของพระเจ้าธรรมเจดีย์เท่านั้น เมื่อหลังการสวรรคตของระเจ้าธรรมเจดีย์แล้ว ก็เกิดการแตกแยกกันอีก



ในรัชสมัยของพระเจ้าเมงกะยินโย ครองเมืองตองอู ขณะนั้นพระพม่าแบ่งออกเป็น๓ เมืองใหญ่ ๆ ได้แก่ อังวะ ของไทยใหญ่ เมืองแปรของมอญ และตองอู ของพม่า ทั้ง ๓ เมืองมุ่งแต่จะทำสงครามกัน ไม่มีเวลาสนใจทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเลย ในสมัยพระเจ้าบุเรงนองได้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา และห้ามฆ่าสัตว์ใหญ่ เมื่อมีคนตาย พระเจ้าบุเรงนองเรืองอำนาจมากจนชื่อว่าผู้ชนะสิบทิศ มีประเทศราชทั่วสุวรรณภูมิ คือ อังวะ แปร เชียงใหม่ อยุธยา ยะใข่ ล้านช้าง และหัวเมืองไทยใหญ่ทั้งปวง ทรงครองราชอยู่ได้ ๓๐ ปี สวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๔



เมื่อพระเจ้าบุเรงนองสวรรคตแล้ว พระโอรสขึ้นเสวยราชแทน แต่ไม่มีอำนาจเหมือนพระเจ้าบุเรงนอง เมืองขึ้นต่าง ๆ ได้ประกาศตัวเป็นอิสรภาพ รวมทั้งไทยด้วย พม่าต้องทำศึกกับไทย ๔ ครั้งใหญ่ ๆ ไทยเป็นผู้ชนะทุกครั้ง พวกมอญได้รวบรวมพรรคพวก โดยได้เชิญพระภิกษุชาวกะเหรี่ยงรูปหนึ่ง ชื่อว่า พระสะล่า เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางเวทย์มนต์คาถา เชิญให้สึกออกมา คิดแผนการณ์ไล่พม่าออกจากเมืองได้สำเร็จ และได้ทำพิธีราชาภิเษกเป็นกษัตริย์ผู้ครองนครหงสาวดี เมื่อ พ.ศ. ๒๒๘๓ มีพระนามว่า พระเจ้าสทิงทอพุทธเกติ ได้แผ่อิทธิพลตีเมืองตองอู และเมืองแปรได้สำเร็จ นับว่าเป็นยุคที่มอญเรืองอำนาจ

ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ชนชาติโปรตุเกสได้เข้ามาติดต่อกับประเทศพม่า มีโปรตุเกสคนหนึ่งได้มาแต่งงานกับพระธิดาของเจ้าเมืองเมาะตะมะ และได้ช่วยพระเจ้ายะไข่ปราบกบฏ จนมีความดีความชอบได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองสีเรียม จึงถือโอกาสเผยแผ่ลัทธิโรมันคาทอลิค ด้วยการเบียดเบียนพุทธศาสนา เช่นริบทรัพย์สมบัติของวัด เที่ยวยื้อแย่งเจดีย์สถาน ห้ามประชาชนใส่บาตรทำบุญ จนพระสงฆ์ต้องลี้ภัยไปกรุงอังวะ เพื่อร้องทุกข์กับกษัตริย์พม่า ในที่สุดพม่ากับมอญได้ร่วมมือกันกำจัดพวกโปรตุเกสที่เบียดเบียนพระพุทธศาสนา โดยจับขึงไม้กางเขนตายหลายคน

พวกมอญได้ยึดครองพม่าเพียง ๗ ปีเท่านั้น ก็ได้สิ้นอำนาจลงจากการทำสงครามกับอลองพญา ซึ่งประกาศแต่งตั้งราชธานีขึ้นเอง ชื่อว่ากรุงรัตนสิงห์ ได้มาตีกรุงหงสาวดี เมื่อพ.ศ. ๒๒๙๙ ในที่สุดกรุงหงสาวดีก็แตกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๐ มอญจึงได้สูญสิ้นอำนาจ พม่ากลับมีอำนาจอีกครั้ง และพม่าหลังจากได้ปราบมอญได้แล้ว จึงได้ยกทัพมาตีไทย ตีครั้งแรก พ.ศ. ๒๓๐๓ นำโดยอลองพญา แต่ไม่สำเร็จ โดย อลองพญาได้สวรรคต เพราะปืนใหญ่แตก แต่ก็สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาจึงถูกพม่าเผาผลาญเสียวอดวาย ได้มีเหตุการณ์สำคัญทางพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในพม่า คือ การสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ ๕ (ของฝ่ายเถรวาท) ณ เมืองมัณฑะเล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ ได้มีการจารึกพระไตรปิฎกลงในหินอ่อน ๗๒๙ แผ่น โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้ามินดง และได้รับการสนับสนุนจากคณะสงฆ์ทั้งของศรีลังกา ไทย กัมพูชา และลาว อังกฤษได้เข้ามาแสวงอาณานิคม และมีอำนาจในพม่า เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๖๘ กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่า คือ พระเจ้าธีบอ แห่งราชวงศ์อลองพญา ได้สิ้นลง

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙เมื่อคราวพม่าทำสงครามกับอังกฤษ ครั้งที่ ๓ อังกฤษเอาชนะพม่าโดยปราศจากสัญญาใด ๆ พระราชา คือ พระเจ้าธีบอ และพระมเหสี ถูกเนรเทศไปอยู่เมืองรัตนคีรีในประเทศอินเดีย พระเจ้าธีบอสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ส่วนพระนางศุภยะลัต กลับมาสวรรคตที่เมืองย่างกุ้ง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ในช่วงที่อังกฤษปกครองพม่านั้น ประชาชนไม่พอใจ และต่อต้านอังกฤษหลายเรื่อง เช่น การประกาศยุบประเทศพม่าให้เป็นมณฑลอันหนึ่งของอินเดีย จึงมีการก่อกบฏขึ้น แต่ก็ถูกอังกฤษปราบปราม ประชาชนก็ยังต่อต้านอังกฤษในทางศาสนาและวิถีการเมือง ได้มีการก่อตั้งสมาคมศาสนธรขึ้น เพื่อรักษาพระพุทธศาสนา จากการมุ่งทำลายจากศาสนาคริสต์ และมีสมาคมยุวพุทธิกะซึ่งมีเยาวชนจำนวนมากเป็นสมาชิก มีอิทธิพลตามมหาวิทยาลัย และโรงเรียนต่าง ๆ โดยการร่วมมือระหว่างพระกับ ฆราวาส พระภิกษุสงฆ์ได้แสดงธรรมต่อต้านอังกฤษ และเดินขบวนอย่างเปิดเผย บางรูปถูกจับไปขังคุกก็มี ในขณะที่อังกฤษปกครองอยู่นั้น คณะสงฆ์แตกแยกกัน เป็นพวกเป็นกลุ่มต่าง ๆ บางกลุ่มปฏิบัติหย่อนยานมาก คล้ายฆราวาสก็มี ตำแหน่งสังฆราชก็ว่างลง ประชาชนจึงรวมตัวกันขอร้องให้รัฐบาลอังกฤษแต่งตั้งพระสังฆราชในนามเจ้ากรุงอังกฤษ จึงได้เกิดพระสังฆราชขึ้นใหม่ แต่ก็ไม่มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง คณะสงฆ์เลย



เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๒ พม่าได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ ได้สถาปนาเป็นสหภาพพม่า เมื่อได้รับเอกราชแล้ว รัฐบาลได้สถาปนาคณะมนตรีพระพุทธศาสนาขึ้นทันที ซึ่งได้ขยายศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาไปยังแหล่งต่าง ๆ เพื่อเตรียมงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้มีการสังคายนาครั้งที่ ๖ขึ้นที่กรุงย่างกุ้ง เริ่มต้น เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๙๗ โดยมีพระสงฆ์ทรงความรู้จากประเทศต่าง ๆ รวมทั้งศรีลังกา ไทย กัมพูชา ลาว อินเดีย และปากีสถาน พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีฉบับที่เป็นหลักฐานเชื่อถือได้ ถูกรวบรวมแล้วเสร็จบริบูรณ์ทันงานฉลองพุทธศตวรรษที่ ๒๕

พอจะสรุปเหตุการที่สำคัญ ๆ อันเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในประเทศพม่าตั้งแต่ต้นจนถึงรัชสมัย พระเจ้าธรรมเจดีย์นั้น แบ่งเป็นยุค ๆ ได้ ๕ ยุค ดังนี้

ยุคแรก คือในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ หรืออาจก่อนหน้านั้นหลายร้อยปีก็ได้ เป็นที่รู้จักกันดีในพม่าใต้ จารึกต่าง ๆ ที่ค้นพบ เขียนเป็นภาษาบาลีด้วยอักษรแบบอินเดียตอนใต้

ยุคที่ ๒ เป็นสมัยที่พระเจ้าอโนรธามังช่อ (พ.ศ. ๑๕๘๗-๑๖๒๐) ได้ชำระพระพุทธศาสนาในพม่าเหนือให้บริสุทธิ์ โดยอาศัยคัมภีร์ต่าง ๆ ที่ได้จากเมืองมอญเป็นหลัก โดยเอาไปเทียบกับคัมภีร์ที่ได้มาจากลังกา

ยุคที่ ๓ (ประมาณ พ.ศ. ๑๗๔๓) ท่านอุตตราชีวะกับท่านฉปัทผู้เป็นศิษย์ ซึ่งการศึกษาที่ประเทศลังกา โดยท่านฉปัทได้รับการอุปสมบทที่นั่น ไม่ยอมรับพระมอญว่าเป็นพระที่สมบูรณ์ จึงก่อให้เกิดเป็น ๒ นิกายขึ้นในพม่าเหนือนั่นก่อน แล้วต่อมาก็ขยายตัวจนมาถึงพม่าใต้

ยุคที่ ๔ (ประมาณ พ.ศ. ๑๗๙๓) ลัทธิลังกาวงศ์ โดยการนำของพระสารีบุตรและคณะ ได้เริ่มมีอำนาจมาจนถึงพม่าใต้และพวกรามัญนิกายก็เริ่มเสื่อมลง

ยุคที่ ๕ (ประมาณ พ.ศ. ๒๐๐๓) พระเจ้าธรรมเจดีย์แห่งกรุงหงสาวดี ได้ทรงประกาศว่า พระองค์ได้ทรงชำระพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์ผุดผ่องแล้ว ตามแบบของคณะมหาวิหารในลังกา ซึ่งเป็นนิกายเดียวที่เก่าแก่ที่สุด



อิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อประเทศพม่า

๑. ด้านสังคม

- ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ปัจจุบันประชากรของประเทศพม่า ประมาณ ๑๘ ล้านคน นับถือพุทธศาสนา ประมาณ ๑๕ ล้านคน คือ ผู้นับถือประมาณร้อยละ ๘๐

- ด้านวัฒนธรรมประเพณี พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญของชาวพม่า เช่น

* ชาวพม่านิยมให้ลูกบวชเป็นสามเณรมาก ตั้งแต่อายุน้อย ๆ เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยืนนาน ดังปรากฏในอดีตว่า มีพระเถระนักปราชญ์ชาวพม่าหลายรูปที่มีบทบาทในการเผยแผ่พุทธศาสนาไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือประเทศเพื่อบ้าน เช่นให้การช่วยเหลือแก่ประเทศลังกาในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา

* ชาวพม่ามีความศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนามากจึงนิยมสร้างเจดีย์มาก พระมหากษัตริย์ในอดีตได้ทุ่มเทสร้างวัดวาอารามมากมาย

* วัดเป็นศูนย์กลางการศึกษาโดยแต่ละวัดจะมีโรงเรียน เพราะวัดเป็นศูนย์กลางการศึกษา เช่นเดียวกับประเทศไทยในอดีต

* ประเพณีและวันสำคัญของพม่า เช่นงานประเพณี และเทศกาลประจำปีส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา

* สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม สิ่งก่อสร้าง เช่น วิหาร เจดีย์ หรือ ปูชนียสถานอื่น ๆ ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากพุทธศาสนา

* เป็นศูนย์รวมของจิตใจของพม่าและยึดพระพุทธศาสนาเป็นแบบแผนการดำเนินชีวิต

๒. ด้านการเมือง

๑. พระพุทธศาสนาอยู่ในฐานะประจำชาติ ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ รัฐบาลพม่าได้ออกกฎหมายรับรองว่าเป็นศาสนาประจำชาติ และกฎหมายอื่น ๆ อีกมากเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

ปัจจุบันนี้ประเทศพม่า โดยการปกครองของรัฐบาลทหารพม่า หรือ SLORC [ State Law and Order Restoration Council ] ได้ถูกประณามว่าเป็นรัฐบาลเผด็จการ โดยการปกครองที่ใช้อำนาจเป็นใหญ่ได้ทำการกดขี่ประชาชนและพระสงฆ์อย่างไร้จิตสำนึกทางด้านมนุษยธรรม ในครั้งที่รัฐบาลทหารได้ยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๑ ที่ไม่ยอมรับการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ โดยครั้งนั้นพรรคของนาง อองซาน ซูจี เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง แต่ก็ถูกยึดอำนาจโดยรัฐบาลเผด็จการทหารของพม่า ปัจจุบันนี้ทางพระภิกษุสงฆ์ได้มีส่วนร่วมในทางการเมืองโดยการต่อสู้อย่างสันติเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยได้จัดตั้งสหภาพยุวสงฆ์แห่งพม่า ( All Burma Young Monks' Union) ในเขตปลดปล่อย โดยมีพระภิกษุเคมะสาระ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานของสหภาพยุวสงฆ์แห่งพม่า ในเขตปลดปล่อย ได้พิมพ์เอกสารและข้อเขียนเพื่อเรียกร้องสิทธิมนุษยชนกับรัฐบาลทหารพม่า

๓. ด้านเศรษฐกิจ

- อิทธิพลจากหลักธรรมคำสั่งสอนที่สอนด้วยเรื่องเศรษฐกิจ การค้าขายได้มีอิทธิพลต่อแนวคิดของชาวพม่า เช่นกับความเชื่อของชาวพุทธทั่วไปในประเทศต่าง ๆ เช่นการประกอบอาชีพสุจริต ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น เป็นต้น

- การนำพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

- การนำหลักธรรมหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน


พระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซีย



อดีตประเทศมาเลเซียเคยได้รับอิทธิพลของศาสนาฮินดู-พุทธมาตั้งแต่สมัย อาณาจักรศรีวิชัย แต่ต่อมาเมื่อศาสนาอิสลามได้เข้ามาแพร่หลายอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ในรัชสมัยของพระเจ้าปรเมศวรเป็นต้นมาทำให้พุทธ ศาสนาหมดความสำคัญไป ในระยะเวลาหนึ่ง

ประวัติพระพุทธศาสนาในมาเลเซีย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เชื่อกันว่าพระพุทธศาสนาได้แผ่สู่มาเลเซีย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๓ โดยนิกายเถรวาทซึ่งไม่แพร่หลายเท่าใดนัก ต่อมาในพุทธ ศตวรรษที่ ๑๒ อิทธิพลของอาณาจักรศรีวิชัย จึงได้มีพุทธศาสนาแบบมหายาน แผ่ขยายมาถึงมาเลเซีย

พ.ศ. ๑๘๓๗ ภายใต้การปกครองของอาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุน รามคำแหงมหาราช ซึ่งแผ่อำนาจลงทางคาบสมุทรมลายู และได้นครศรีธรรมราช เป็นศูนย์กลางอำนาจหัวเมืองมลายูทั้งหลาย แต่เนื่องจากประชาชนในแถบนี้ นับ ถือพุทธศาสนาแบบมหายานมาหลายร้อยปีแล้ว พุทธศาสนาแบบเถรวาทจึงไม่ ค่อยมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตความเชื่อของคนบริเวณนี้มากนัก ซึ่งจะปรากฏแต่รูปพระ โพธิสัตว์ หรือรูปเคารพตามแบบมหายานโดยมาก ความรุ่งเรืองของพุทธศาสนา ในมาเลเซียเริ่มขึ้นได้ไม่นาน พระเจ้าปรเมศวร แห่งอาณาจักรมะละกา ทรง อภิเษกกับ เจ้าหญิงแห่งปาไซ ที่เป็นมุสลิม พระองค์จึงละทิ้งศาสนาฮินดู-พุทธ และเข้ารีตศาสนาอิสลาม ในขณะที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา อยู่ ต่อมาในรัชกาลของสุลต่านมัลโซร์ชาห์ ซึ่งทรงมีความเลื่อมใสในศาสนา อิสลาม ทำให้ราษฎรเข้ารีตศาสนาอิสลามตามพระองค์ (ในประเทศมาเลเซีย)


ชาวจีน และชาวไทยพุทธ

แต่เนื่องจากมีชาวไทยที่อาศัยอยู่ในสามรัฐทางภาคเหนือของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเกดะห์ รัฐกลันตัน และรัฐปะลิส เป็นเวลายาวนาน จนได้รับรองสถานะ เทียบเท่าชาวมาเลย์ แต่ชนชาวไทย จะแสดงถึงความเป็นไทย คือ ความเป็นพุทธ เถรวาท ซึ่งมีพิธีกรรม และสถาปัตยกรรมทางศาสนาเหมือนกันกับชาวพุทธใน ประเทศไทย โดยมีชาวจีนให้ความอุปถัมภ์วัดทางการเงิน และช่วยเหลืองานต่างๆ ช่วงเทศกาลงานบุญ แต่ชาวไทยพุทธมีบทบาทในการดูแลศาสนามากกว่า เช่น การบวชของชาวไทยจะยาวนานกว่าชาวจีน จนสามารถแยกได้ว่า กลุ่มใดเป็น กลุ่มชาวไทย และชาวจีนในมาเลเซีย ส่วนวัดวาอารามของชาวสยามจะอยู่แถบ ชนบท มีสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทย พิธีกรรมเป็นแบบชาวไทย คือเน้นการ ทำบุญเป็นหลัก ซึ่งผู้ที่จะบริจาคให้วัดจะเป็นชาวจีนโดยมาก ดังนั้นวัดไทยหลายๆ วัดที่มีชาวจีนอุปถัมภ์จะมีรูปเคารพเจ้าแม่กวนอิม หรือเทพเจ้าจีน ไว้เพื่อยึด เหนี่ยวศรัทธาของชาวจีน ในแต่ละชุมชน จะมีสำนักสงฆ์ไว้ เพื่อให้เป็นที่พำนัก ของพระสงฆ์ ที่หมุนเวียนกันมาจำพรรษาโปรดญาติโยม แต่ที่วัดใหญ่จะมี พระสงฆ์ไม่ต่ำกว่า ๕ รูป โดยพระสงฆ์ที่บวชนานๆ และพระสงฆ์ที่บวชระยะสั้นๆ อยู่จำพรรษาในวัดนั้นๆ ชาวจีนส่วนมาก จะให้ความนับถือพระที่เก่งทาง ไสยศาสตร์ และสมุนไพร บางครั้งก็นิมนต์ไปประกอบพิธีทางศาสนาที่บ้านของตน



การปกครองคณะสงฆ์

การปกครองของคณะสงฆ์นั้น จะขึ้นกับคณะสงฆ์ไทยภายใต้พระสังฆราช องค์เดียวกัน โดยมีเจ้าคณะรัฐในประเทศมาเลเซียเป็นผู้ปกครอง แต่การแต่งตั้ง ผู้นำคณะสงฆ์จะผ่านการรับรองจากสุลต่านแห่งรัฐซึ่งถือว่า เป็นอัคร ศาสนูปถัมภก โดยมีฐานะเป็นผู้ปกป้องพระพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับ กิจการทางศาสนา ทำให้พระพุทธศาสนาเข้มแข็ง ที่จะดำรงอยู่ท่ามกลางสังคม มุสลิมได้ และชาวมุสลิม ก็ต้องยอมรับการมีอยู่ชาวสยาม และวัดพุทธด้วย นอกจากนี้ก็ยังมีพระสงฆ์ที่บวชระยะยาวมาเล่าเรียนในไทย และพระสงฆ์ไทย ก็ เปิดการสอบนักธรรมในประเทศมาเลเซีย เพื่อเปิดโอกาส ให้พระที่ไม่มีโอกาส ได้มาเรียนในไทยได้สอบปริยัติธรรมกันภายใต้มาตรฐานการดูแลของพระสงฆ์ไทย และวัดได้รับการยกเว้นการเสียภาษีที่ดิน พระสงฆ์ในมาเลเซียไม่มีนิตยภัตเหมือน อย่างพระไทย



การเผยแผ่พระศาสนา

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็มีอุปสรรคอยู่ เพราะมีสภาการศาสนาชาว มุสลิม (Muslim Religious Council) คอยบริหาร และดูแลผลประโยชน์ของชาว มุสลิม ฉะนั้นการชักจูงชาวมาเลย์ที่ไม่ใช่ชาวจีนให้มานับถือพระพุทธศาสนา จะ ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ทางลบจากอำนาจรัฐซึ่งเป็นมุสลิม มีความพยายาม เรียกร้องให้แต่ละศาสนามีอำนาจปกครองบริหารตนเองเหมือนในประเทศไทยอยู่ หลายครั้ง แต่ก็ถูกปฏิเสธจากทางภาครัฐ พระสงฆ์ในประเทศมาเลเซียไม่สามารถ ออกบิณฑบาตได้เนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียได้ประกาศกฏอัยการศึกเฉพาะกาลไว้ ทำให้เกิดการต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรงจากศาสนิกชนอื่นๆที่ไม่ใช่อิสลาม ปัจจุบันนี้ คณะสงฆ์มาเลย์ยังขาดบุคลากรที่ต้องการบวชนาน ๆ ทำให้บางวัดต้อง ปิดตัวลง เพราะไม่มีพระจำพรรษา และจะเปิดอีกครั้งเมื่อมีพระจำพรรษา เพียงพอ แต่ก็ได้พยายามแก้ปัญหาด้วยการแบ่งพระไปจำพรรษาสามเดือน ตาม คำขอของชาวบ้านที่มีพระจำนวนน้อย



พุทธศาสนาในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน การนับถือพระพุทธศาสนาในมาเลเซียมีอยู่เฉพาะในบรรดาผู้ที่ รับเชื้อสายมาจาก ชาวจีน ลังกา พม่า และชาวไทยและมีวัดและสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ ในบางแห่ง เช่น ที่เมืองกัวลาลัมเปอร์และรัฐปีนัง มีวัดไทยตั้งอยู่และมีพระสงฆ์ ไทยไปจำพรรษาอยู่ที่นั่น วัดไทยที่กัวลาลัมเปอร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ ด้วย ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซีย เรียกชื่อว่า วัดเชตวัน สร้าง เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยสวยงาม วัดไทยที่ปีนัง ชื่อ วัดไชยมังคลาราม เป็นวัด ไทยที่เก่าแก่ ยังไม่ทราบปีที่สร้างแน่นอน วัดนี้มีปูชนียสถานสำคัญ เช่น พระพุทธ ไสยาสน์ และวิหารพระพุทธเจดีย์ ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในเกาะปีนัง และวัดบุ ปผาราม เป็นวัดไทย เบื้องต้นวัดนี้ถูกชาวบ้านยึดครองนานถึง ๑๑ ปี ๖ เดือน มี พระเถระสู้คดีจนได้กลับเป็นวัดไทยทุกวันนี้ วัดพม่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดของเถร วาท คือสร้างมานานกว่า ๑๒๐ ปี มีพระพม่าอยู่ประจำ มีวัดศรีลังกาอยู่ตรงข้าม เดิมเป็นวัดเดียวกัน ภายหลังถนนตัดแบ่งกลาง และวัดเกะก์ โละก์ ชี บนเขาอา เยร์ ฮิตัม เป็นวัดจีนแบบมหายาน ไม่ห่างจากเขาปีนังมาก มีธรรมชาติสวยงาม และเป็นที่ท่องเที่ยวที่นิยมมากในปีนัง ส่วนพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ยาวที่สุดใน ประเทศมาเลเซียอยู่ที่ วัดโพธิวิหาร ในกลันตัน และยังมีวัดพุทธไทยอีกจำนวน มากระหว่างตุมปัตกับปาสิรมัส และบางหมู่บ้านก็จัดงานฉลองเทศกาลต่างๆของ ไทย เช่น วันสงกรานต์ และในรัฐกลันตันนี้ ชาวมาเลย์มุสลิม และชาวไทยพุทธก็ อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข.

บรรณานุกรม

ชิตมโน. พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย. ๒๕๓๓

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พระพุทธศาสนาในอาเซีย. กรุงเทพฯ ; ธรรมสภา, ๒๕๔๐.

พระราชธรรมนิเทศ,(ระแบบ ฐิตญาโณ). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ. มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖.

พระภิกษุเคมะสาระ. ชกใต้เข็มขัด ธรรมเนียมปฏิบัติเผด็จการพม่า. มปท. พิมพ์ครั้งที่ ๑ ๒๕๔๐.

พระมหาอุทัย ธมฺมสาโร. พระพุทธศาสนาและโบราณคดีในเอเซีย. กรุงเทพฯ: เฟื่องอักษร. ๒๕๑๖.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เล่ม ๖ พระพุทธศาสนาในลังกา พม่า มอญ . กรุงเทพฯ: การศาสนา. ๒๕๓๐

เสถียร โพธินันทะ. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ เล่ม ๒ กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๓๕.

สุชีพ ปุญญานุภาพ, วัฒนธรรมวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๔๐), หน้า ๘๖.

ม.อุปริ. ๑๔/๒๙๐/๓๕๐. (ไทย)

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สังคมและวัฒนธรรม, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๕), หน้า ๖๙.

ขุ.อุ. ๒๕/๑๑๕/๑๕๐.

จำนงค์ ทองประเสริฐ, ราชบัณฑิต, วัฒนธรรมไทย ภาษาไทย, (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗), หน้า ๓๘.

https://aseanasean.wordpress.com/ศาสนาของประชาชนในประชา/

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

http://www.asc.mcu.ac.th/?bwl_kb=buddhism-malaysia

http://www.asc.mcu.ac.th/?bwl_kb=buddhism-myanmar

http://www.dhammathai.org/thailand/missionary/burma.php


รวบรวมข้อมูลโดย : นายสถิต สมเสงี่ยม


ดาวน์โหลดไฟล์ : พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า และมาเลเซีย


ตัวอย่างไฟล์ :

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น